จากครั้งที่แล้ว ลักษณะของฝาหน้า จะเป็นการแปะแผ่นฝาหน้าเข้าไปกับโครงหีบ เราต้องทำไม้ขัดฝาหน้า เพื่อให้ล็อคฝาหน้าเข้ากับโครงหีบด้วย หลักการเดียวเหมือนๆไม้ขัดฝาหม้อเวลาหุงข้าวในสมัยก่อนครับ
ในรูป คือภาพจากตอนที่แล้ว สังเกตที่ฝาหน้า ผมยังไม่ได้ติดตั้งหูล็อค
ครั้งนี้ ผมติดตั้งหูล็อคไว้ทั้งหมด 4 จุด เพื่อเอาไว้ล็อคฝาหน้า ผ่านแท่งไม้ (ชิ้นที่มีรูปวงกลม)
ดังนั้น เวลาล็อคฝาหน้า เราก็จะเสียบแท่งไม้ชิ้นนี้ ผ่านชั้นบนสุดของหีบ แทงทะลุลงไปผ่านหูล็อคฝาหน้า จนไปสุดตีนหีบ เพียงเท่านั้น ก็จะสามารถล็อคฝาหน้าไม่สามารถเปิดออกได้ครับ
อย่างไรก็ดี เราตกแต่งลายสักหน่อยเป็นไร
ผมเลยออกแบบให้เป็นเส้นไม้แดง วิ่งตามสันขอบ มาจบที่ไม้ขัดฝาหน้า ดังรูป
เราใช้ทริมเมอร์ เดินเซาะร่องตื้นๆ ดังในรูป เพื่อเตรียมฝังไม้แดงเส้นหนาประมาณ 6มม.
จากนั้นก็เก็บมุมแหลมด้วยสิ่วขนาดเล็ก และฝังไม้แดงตามขนาดต่างๆ
ส่วนของสันหิ้ง มีการเจาะช่องไว้สำหรับไม้ล็อค และไม้ดามฝาหน้า ทำให้เส้นอินเลย์มันขาดช่วง
ผมก็เลยจัดการฝังอินเลย์เลาะตามทาง
เมื่อทำเสร็จทั้งหมดมารวมกัน ก็จะเป็นดังรูป
ดูมีเรื่องราวขึ้นมาเลยครับ
ทดสอบการจัดเรียงอุปกรณ์ต่างๆ
ครั้งหน้า จะทำหูหิ้วติดด้านข้างหีบ และอุปกรณ์เสริมสำหรับเก็บเครื่องมือ เช่น รางเก็บสิ่วที่ชั้นบนสุด หรือตัวล็อคสำหรับยึดเลื่อยประเภทต่างๆ
No comments:
Post a Comment