Sunday, July 22, 2012

Ukulele Day 30 Bridge

Today, we continue our bridge part.














Then, we shape the nut to fit perfectly at the nut's slot.

Bridge position is crucial here. We measure the length from nut to 12th fret. It is 171mm.
Thus, the bridge is located at 171mm from 12th fret too.
However, we need to add 1.5mm factor for the string's strength (to compensate with intonation). The total length from nut to saddle is
(171x2) + 1.5 = 343.5 mm





Bridge height is about 0-2mm higher than fret.



Obviously, our bridge is flat compared to ukulele's top (which is 28ft radius). We need to shape the bridge's surface to the same radius so that the bridge sit perfectly on the top.










We temporarily paste the duck tape as a reference area. Then we adjust bridge left/right side with nylon.







Paste duck tape on the other 3 sides. Then, we chisel out the lacquer layer because we'd like to apply the glue on this area.


Use cutter to outline the area. (2mm from each side).

















Thursday, July 19, 2012

Ukulele Day 29 Sound hole finishing

We've done the polishing. Go further with fingerboard, bridge. Prepare the bridge dimension (62x16x8 mm)






Remove the duck tape, clean up the sound hole.

Sunday, July 15, 2012

Ukulele Finishing, Polishing summary

ขอสรุปขั้นตอนการเคลือบผิวและปัดเงาครับ แบ่งเป็น 4 ขั้นตอนใหญ่ๆดังหัวข้อ

1) การเตรียมผิวชิ้นงาน
เป็นขั้นตอนที่สะสมมาตลอดการทำชิ้นงาน เราจะมีการขัดปรับผิวตามทางไม้ ด้วยกระดาษทรายแห้งเบอร์ 2 เพื่อให้ผิวเรียบ สม่ำเสมอ ไม่มีหลุม บ่อ เวลาเอามือลูบผ่านๆ ต้องไม่มีสะดุดเนิน หลุม หรือเม็ดผิวใดๆ (การขัดทั้งหมดนี้ เราต้องใช้กระดาษทรายห่อบล็อคไม้และขัด ห้ามใช้มือเปล่าๆขัดชิ้นงาน)

จากนั้น ใช้แอลกอฮอล์เช็ดผิวชิ้นงาน เพื่อดูดฝุ่นไม้ขึ้นมาให้หมด ในช่วงนี้ เสี้ยนไม้จะฟูขึ้นมาอีกเป็นระลอกๆ ให้ใช้กระดาษทรายเบอร์ 2 ขัดตามทางไม้อีกครั้ง เพื่อลบเสี้ยนที่ฟู ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้
เช็ดด้วยแอลกอฮอล์อีกครั้ง จากนั้นจะขัดละเอียด ด้วยกระดาษทรายขาว เบอร์ 150 ไปถึง 600
เน้นว่า เราขัดตามทางไม้เท่านั้น
สุดท้ายแล้ว เช็ดแอลกอฮอล์เพื่อดูดฝุ่นไม้ออกมา ให้ผิวชิ้นงานสะอาดที่สุด

2) การเคลือบผิวด้วยซีลเลอร์
พ่นซีลเลอร์ชั้นแรก เพื่อเคลือบชิ้นงาน ปล่อยทิ้งไว้ให้แห้ง จากนั้น ใช้กระดาษทรายขาว 320 ขัดผิวบางๆให้เรียบ ถ้าสังเกตเห็นรอยกระดาษทรายจากการเตรียมผิวชิ้นงาน จำเป็นต้องรื้อผิวซีลเลอร์นี้ทิ้ง และกลับไปขัดกระดาษทรายละเอียดในข้อ 1 อีกครั้ง ห้ามปล่อยละเลยเป็นอันขาด

แต่หากผิวซีลเลอร์ชั้นแรก ชิ้นงานดูเรียบร้อยดี ให้เราพ่นซีลเลอร์อีก 2 ชั้น (ปล่อยทิ้งไว้ให้แห้งในแต่ละครั้ง) และจบด้วยกระดาษทรายขาว 320 - 600
การขัดระหว่างชั้นเหล่านี้ เป็นการขัดเพื่อปรับผิวให้เรียบสม่ำเสมอ ไม่ใช่ขัดเน้นเพื่อลบรอย หรือลอกผิว

3) การเคลือบผิวด้วยแลคเกอร์
ผสมแลคเกอร์ และทินเนอร์ อัตราส่วน 1:1 และพ่นชิ้นงาน 2 ชั้น (ปล่อยทิ้งไว้ให้แห้งอย่างน้อย 8 ชั่วโมงสำหรับแต่ละชั้น)
จากนั้น ให้ขัดกระดาษทรายน้ำ เบอร์ 320 (หรือ 400)..ในการขัดกระดาษทรายน้ำนี้ ควรจะหยดน้ำสบู่ เพื่อให้ผิวลื่นและเศษแลคเกอร์ที่ขัดจะหลุดออกมาง่าย ไม่ติดกับกระดาษทราย
ใช้ผ้าแห้งเช็ดน้ำสบู่และเศษผงแลคเกอร์เป็นระยะๆ เพื่อไม่ให้ผงแลคเกอร์เองมาขีดขูดกับผิวชิ้นงาน

ทำลักษณะนี้ จนครบการพ่น 14 รอบ นั่นคือ
พ่น 1 รอแห้ง 5-8 ชั่วโมง พ่น 2 ขัดกระดาษทรายน้ำเบอร์ 320
พ่น 3 รอแห้ง 5-8 ชั่วโมง พ่น 4 ขัดกระดาษทรายน้ำเบอร์ 320
พ่น 5 รอแห้ง 5-8 ชั่วโมง พ่น 6 ขัดกระดาษทรายน้ำเบอร์ 320
พ่น 7 รอแห้ง 5-8 ชั่วโมง พ่น 8 ขัดกระดาษทรายน้ำเบอร์ 320
พ่น 9 รอแห้ง 5-8 ชั่วโมง พ่น 10 ขัดกระดาษทรายน้ำเบอร์ 320
พ่น 11 รอแห้ง 5-8 ชั่วโมง พ่น 12 ขัดกระดาษทรายน้ำเบอร์ 320
พ่น 13 รอแห้ง 5-8 ชั่วโมง พ่น 14 ขัดกระดาษทรายน้ำเบอร์ 320

จุดประสงค์ที่พ่นจำนวนหลายๆรอบ เพื่อต้องการให้แลคเกอร์ลงไปอุดในร่องเสี้ยนจนเต็มทั้งหมด เมื่อดูด้วยตา ควรจะเห็นผิวชิ้นงานที่ตึง เรียบ ไม่มีรู ร่อง
ดังนั้น จึงเป็นไปได้ว่า พ่น 14 รอบแล้วอาจจะยังเห็นร่องเสี้ยนอยู่ ก็ยังคงต้องพ่นไปอีกเรื่อยๆ
ในกรณีชิ้นงานกีตาร์นั้น ผิวด้านหน้ากีตาร์ไม่ควรพ่นมากไปกว่านี้มาก เพราะจะส่งผลกับเรื่องเสียง

กระบวนการเหล่านี้ ห้ามใจร้อนเด็ดขาด ต้องค่อยๆพิจารณาและใช้กระดาษทรายปรับผิวชิ้นงานไปเรื่อยๆ


ในการขัดรอบท้ายๆที่มั่นใจว่า ร่องเสี้ยนอุดเต็มหมดแล้ว
เราจะผสม แลคเกอร์ และทินเนอร์ ในสัดส่วนที่จางสักหน่อย และพ่นอีก 2 รอบ (รอแห้ง 5 ชั่วโมงในแต่ละรอบ)
จากนั้น ใช้กระดาษทรายน้ำ 500 และ 800 ขัดผิว เพื่อเตรียมการปัดเงา

4) การปัดเงา
เราใช้สารปัดเงาทั้งหมด 3 แบบ ดังรูป
เริ่มจากกระปุกซ้ายสุด ใช้นิ้วจุ่มและแตะทั่วๆชิ้นงาน+พ่นละอองน้ำ
จากนั้น ใช้ผ้าแห้งขัดถูสารนี้ให้หลุดให้หมด เปรียบเสมือนการใช้บรัชโซขัดหัวเข็มขัดลูกเสือตอนเด็กๆ
การขัดสารนี้ จำเป็นต้องออกแรงมากสักหน่อย เพื่อขัดถูให้ขึ้นเงาจริงๆ

จากนั้น ใช้ 3M Finishing ขวดกลาง 1 หยด ลงบนผิวชิ้นงาน+พ่นละอองน้ำ
ใช้ผ้าอีกผืน ขัดถูสารนี้ให้หลุดหมด

จากนั้นสุดท้าย ใช้ 3M ขวดขวาสุด 1 หยด ลงผิวชิ้นงาน (เป็นการขัดแห้ง ไม่ต้องใช้น้ำ)
ใช้ผ้าอีกผืน ขัดถูให้สะอาด

ผ้าที่ใช้ในกระบวนการปัดเงา ควรเป็นผ้าผิวละเอียด ไม่มีขุย และไม่สร้างรอยขีดข่วนให้ชิ้นงาน
(หรืออาจจะใช้เครื่องปัดเงามาช่วยก็ได้)

จึงเสร็จสิ้นกระบวนการเคลือบแลคเกอร์และปัดเงา




Ukulele Day 28 Polishing


This is what we've done with 15 lacquer layers. We sand with 800 grit water-proof sanding paper as shown the sanding result (above photo).





Note that we see some reflection at this step.

We go further with 1000 grit paper to prepare the polishing surface.

Then,we apply "Solar"
The left-bottom area is the surface before any compound, while the top-right area is applied with compound.

Accordingly, we apply 3M finishing material (middle bottom) and 3M polishing pad glaze (right bottom).
The results are shown.















Sunday, July 8, 2012

Ukulele Day 27 15th Lacquer layer

After we've done the sanding/lacquering for several layers, today is our final layer. The 15th layers!!
We remind our step.
Apply 400 grit water proof sanding paper, 1st lacquer, wait for at least 8 hours, 2nd lacquer...
Apply 400 grit water proof sanding paper, 3rd lacquer, wait for at least 8 hours, 4th lacquer...
Apply 400 grit water proof sanding paper, 5th lacquer, wait for at least 8 hours, 6th lacquer...
....
 Until we finish 14th
Apply 500 grit water proof sanding paper, apply 800 grit water proof sanding paper, 15th lacquer

Here are some of our 800 grit result (before 15th lacquer layer)









After 15th lacquer layers..

Next time, we will do the polishing.