Sunday, February 16, 2014

โคมไฟญี่ปุ่น Japanese Lamp ตอนที่ 04



ต้นฉบับใช้กระดาษสาสีขาว/ครีม ผมเองก็ลองจับคู่กระดาษสาสีอื่นๆ เผื่อจะมีอะไรแปลกใหม่
แต่เมื่อลองเปิดหลอดไฟส่องจากด้านใน พบว่า กระดาษสาสีครีม นั่นล่ะ นวลสุด ดูเหมาะสมที่สุด

ใช้คัทเตอร์ ตัดกระดาษสาให้พอดีกับกรอบ
ใช้เศษไม้ ทากาวบางๆตามซี่ไม้ ขั้นตอนนี้ต้องระวังกาวเยิ้ม เพราะเช็ดยากมาก

เมื่อติดกระดาษสา ทั้งสองด้าน

ส่วนอีกสองด้าน ผมตัดกระดาษเตรียมไว้แล้ว และต้องนำไปให้คนจีนใช้พู่กันเขียนตัวหนังสือสักหน่อย
โดยเราทำจิ๊ก วางช่องไฟทาบไว้ เมื่อให้คนเขียนพู่กัน เขาก็เขียนตัวอักษรให้อยู่ในกรอบกระดาษ A4 แผ่นนี้ก็พอ ตัวอักษรที่ได้ ก็จะมีระยะห่างจากกรอบไม้ และมีขนาดที่เหมาะสม ดังที่เราออกแบบไว้

จากนั้น ลุยตัวฐานไม้ครับ
ใช้เศษไม้ที่เหลือ มาเตรียมไม้ ไสปรับ 4 ด้าน เก็บงานให้เรียบร้อย


ตัดมุม 45 และไสบางๆด้วยกระดาษไสฉาก 45

รอบนี้ ผมทำจิ๊กชน 45 ขึ้นมาซะเลย (จริงๆควรทำตั้งแต่ประกอบโคมไฟแล้ว)
เราตั้งใจเว้นช่วงมุมไว้ เพื่อตอนที่ทากาว กาวจะได้ไม่เยิ้มไปติดกับจิ๊กชิ้นนี้

รั้วจิ๊กต้องตั้งฉากกับพื้นด้วยนะครับ

ทดลองชนเข้ามุม จะเห็นว่า มีรอยเปิดๆเล็กน้อยบริเวณปลายยอด

เราก็ไสเก็บ และทดลองชนอีกครั้ง
สนิทละ...

วิธีใช้งาน ดังรูปนะครับ ทากาว และใช้แคลป์ยึดทั้งสองชิ้นงานอัดคาจิ๊กไว้

ลืมเล่าให้ฟังไปว่า การชน 45 นี้ เป็นบริเวณหัวไม้ ซึ่งจะดูดเนื้อกาวไปมากทีเดียว (กาวไหลเข้าท่อน้ำของชิ้นไม้) ดังนั้น เราใช้กาวผสมน้ำ ทาบางๆทิ้งไว้ก่อน เพื่อให้เนื้อกาวไหลลงไปอุดตามท่อน้ำ
เมื่อแห้งแล้ว จึงทากาวและประกอบชิ้นงานอีกครั้งหนึ่ง

เมื่อกาวแห้งแล้ว ผมรู้สึกว่า ชิ้นงานไม่ค่อยแข็งแรง (แน่นอน เพราะมันเป็นการชนไม้ธรรมดา)
ผมจึงตัดสินใจ ใส่ลิ่มเข้าไปด้วยซะเลยโดยใช้เลื่อยตัดมุมไม้ดังในรูป

ภาษาช่างไม้ เรียกเดือยชนิดนี้ว่า spline miter joint (ไม่แน่ใจว่า ชื่อไทยว่าอะไรนะครับ)
บางท่าน ก็ทำลิ่มเป็นรูปหางเหยี่ยว เวลาใส่เข้าไปก็จะเห็นเดือยเป็นรูปปีกผีเสื้อ
หรือหากจะซ่อนลิ่ม ก็ทำได้นะครับ แต่ขอเก็บไว้เล่าตอนโครงการอื่นๆ

จากนั้นผมก็ตัดเศษไม้แดง เป็นแผ่นบางๆ หนาเท่ากับความกว้างคลองเลื่อย

ทากาว และอุดเข้าไป

เมื่อกาวแห้ง เราตัดเศษลิ่มทิ้งไปก่อน

และไสเก็บให้เรียบ


 ก็จะเห็นหัวไม้ของลิ่ม เป็นลายแปลกตา
ตอนนี้ มุมชน 45 ก็มีความแข็งแรงมากๆ หล่นพื้นก็ไม่แตกหัก

เรื่องมุมไม้ทู่ๆ ดูไม่สวยงาม เดี๋ยวจัดการได้นะครับ
ตอนนี้ปล่อยไปก่อน เราจะไสเก็บ ตกแต่งผิวทั้งหมดตอนสุดท้าย

เมื่อได้ทำไป 2 มุม ก็จะได้ตัวแอล 2 ตัว ลำดับ่ต่อไป ก็ประกอบอีก 2 มุมสุดท้ายพร้อมกันทีเดียว

แล้วจะยึดกันอย่างไรล่ะ?

ระหว่างนี้ ต้องสร้างจิ๊กตัวช่วยขึ้นมาอีกชุดครับ เป็นจิ๊กจับมุม 45 โดยเฉพาะเช่นกัน
ที่เมืองนอก มีขายเป็นชุดคิท แต่ก็พอทำเองได้
หน้าตาแบบนี้ เหมือนๆธง
ผมทากาวและยึดน็อตไว้เพียงตัวเดียวนะครับ เอาไว้สู้กับแรงบีบแคลป์ตอนถูกใช้งาน

ส่วนขั้นตอนก็สร้าง ก็ตัดเศษไม้ง่ายๆ ตามรูป และใช้แคลป์ยึดทากาว


ส่วนการใช้งานจริง เป็นดังนี้
ดูจากรูป เราจะแนบธงไว้กับผนังกล่องด้านนอก ใช้แคลป์ตัวเล็กยึดแนบไว้ ทำแบบนี้ ทั้งสองผนัง
จากนั้น ใช้แคลป์ใหญ่ มาบีบธงสามเหลี่ยมไว้ ก็จะสร้างแรงบีบผ่านทางมุมกล่อง หนีบกันแน่นแน่นอนครับ จริงๆแล้ว เราจะทำแบบนี้กับทุกๆมุมก็ได้ แต่กล่องเล็กๆ มันจะติดด้ามแคลป์ซ้ายขวา

ผมจึงผสมผสานจิ๊กทั้งสองแบบ ได้ผลลัพธ์ดังรูป

มุมซ้ายบน คือ จิ๊กธง
มุมขวาล่าง คือ จิ๊กเข้ามุม
เมื่อบีบแล้ว กาวปลิ้นๆออกมา ถือว่าเป็นสัญญาณที่ดีครับ




ที่เหลือก็ประกอบฐานเข้ากับโคม และติดกระดาษสาอีกสองด้านที่เหลือครับ
ส่วนของหลอดไฟ ก็ใช้ฐานหลอดไฟทั่วไป แปะกับแผ่นไม้ ติดกับฐานด้านในครับ

กระดาษสาที่ว่างๆอีกสองด้าน เราใช้พู่กันเขียนตัวอักษร
ผมเลือกคำว่า เฉิง cheng แปลว่า จริงใจ sincerity ครับ

คนที่เขียนเป็นอย่าเพิ่งรำคาญนะครับ ฝีมือพู่กันยังต้องคัดลายมืออีกเยอะครับ

เมื่อสีแห้งก็ทากาวติดขอบกระดาษสาเข้าไป

ส่วนตอนกลางคืนก็มีแสงแบบนี้ครับ

No comments:

Post a Comment