และแล้วก็ได้เวลาสำคัญ นั่นคือ การประกอบตัวหัวค้อนและด้าม
สิ่งที่ทำมาทั้งหมด จะได้เกิดผลก็ตรงขั้นตอนนี้นั่นล่ะ
จากตอนที่แล้ว จะเห็นว่า ไสในด้ามค้อนมีลักษณะเป็นเว้าๆ
เพราะเวลาประกอบด้าม เราต้องบีบหางเหยี่ยวทั้ง 2 ฝั่งเข้าหาแกนกลาง
เมื่อประกอบสุด หางเหยี่ยวจะสปริงตัว ดันกลับมาตั้งตรงอีกครั้งนึง
ซึ่งก็ทำให้เราไม่สามารถดึงหัวค้อนออกได้อีกเลย การประกอบจึงเป็นการทำงานแบบเที่ยวเดียว
ไม่สามารถย้อนกลับ หรือถอยหลังได้อีก
ยากที่สุด ก็ตอนนี้ล่ะครับ ถ้าเราเริ่มตอกด้ามในช่วง 3 ซม.ต้นๆและไม่สามารถดันเข้าไปได้
เราต้องถอนออกมา ตรวจเช็คส่วนเกินที่ติด และจัดการเก็บชิ้นงาน เพื่อให้สามารถดันผ่านไปได้
แต่ถ้าผ่าน 3 ซม.ไปแล้ว ก็ลุยเดินหน้าอย่างเดียวครับ เพราะยิ่งลึกเข้าไป ก็ถอนไม่ได้แล้วครับ
ไม้เมเปิ้ล แข็งและเหนียวมาก เห็นบางๆแบบนี้ ต้องใช้แคลป์ช่วยบีบอัด กดหัวให้เข้าหากันเพื่อสอดเข้าผ่านเดือย
ช่วงแบบนี้ล่ะครับ วัดใจ ว่าจะลุยต่อไปให้เสร็จ หรือจะถอนออกมาแก้ไข
Saturday, October 20, 2012
Tuesday, October 16, 2012
ค้อนหางเหยี่ยว ตอนที่ 03 ด้ามค้อน
เสร็จจากหัวค้อน เราก็มาลุยกันต่อที่ด้ามค้อนนะครับ
ผมเลือกทำส่วนของการกลึงด้ามก่อน เพราะเราต้องใช้เครื่องกลึงมาช่วยทำงาน จากนั้นจึงสกัดส่วนหัวด้ามด้วยงานมือ
1. การเตรียมด้ามไม้
เราทำการปรับผิวไม้เมเปิ้ลทั้ง 4 ด้านด้วยกบไสไม้ จากนั้นจึงสอยไม้ออกเป็นท่อนๆ ให้ได้ขนาด
2. งานกลึงด้าม
เราต้องการด้ามที่เป็นลักษณะทรงรี เพื่อให้การจับด้ามค้อนกระชับมือ และหันด้านรีแหลมให้ตรงกับด้านที่จะตอกชิ้นงาน ทั้งนี้ก็คือ ให้ผู้ใช้งานสามารถฉวยหยิบจับด้ามค้อนและหันตอกชิ้นงานได้เลย โดยไม่ต้องละสายตามาเช็คว่า หน้าค้อนอยู่ฝั่งใด
ด้ามต้นแบบที่เราทำเสร็จอันแรก เราใช้กบขูด/เขียด และสิ่วเป็นตัวเก็บงานทั้งหมด ในรอบนี้ เราต้องการรูปทรงที่โค้งมนรี สมมาตรตลอดทั้งด้าม มีน้ำหนักกลางศูนย์ถ่วง และต้องการฝึกวิชางานกลึงไม้
เราได้รับความเอื้อเฟื้อจากพี่ปฐม บังวู๊ดแห่ง woodworkingthai.com ให้ยืมสถานที่และเครื่องกลึง อีกทั้งพี่ปฐมได้แนะเคล็ดวิชางานกลึง การลับมีดกลึงให้พวกเราด้วยครับ
เราแบ่งขั้นตอนย่อยๆดังนี้
2.1) ใช้เราท์เตอร์ครึ่งวงกลมลดโหลดเสียก่อน เพื่อลดเวลาการทำงานกลึง
2.2) ใช้เครื่องกลึงเก็บงานให้กลมตามศูนย์กลางของด้าม และกลึงรูปทรงให้ตัวด้ามมีเอว
2.3) ใช้เครื่องกลึงเยื้องศูนย์ด้าม เพื่อสร้างผิวมน ให้เกิดทรงรีที่ด้าม
2.3) ใช้ผ้าทรายขัดผิวด้ามให้เรียบ
2.5) เก็บงานทั้งหมดด้วยกบขูด อีกครั้งหนึ่ง
สัดส่วนในขั้นตอนนี้จึงต้องใกล้เคียงกับเดือยฝั่งตัวเมียมากที่สุด
รูปแบบที่เราเคยขึ้นโครงไว้ใน Sketch up เป็นดังนี้
ผมเลือกทำส่วนของการกลึงด้ามก่อน เพราะเราต้องใช้เครื่องกลึงมาช่วยทำงาน จากนั้นจึงสกัดส่วนหัวด้ามด้วยงานมือ
1. การเตรียมด้ามไม้
เราทำการปรับผิวไม้เมเปิ้ลทั้ง 4 ด้านด้วยกบไสไม้ จากนั้นจึงสอยไม้ออกเป็นท่อนๆ ให้ได้ขนาด
เราต้องการด้ามที่เป็นลักษณะทรงรี เพื่อให้การจับด้ามค้อนกระชับมือ และหันด้านรีแหลมให้ตรงกับด้านที่จะตอกชิ้นงาน ทั้งนี้ก็คือ ให้ผู้ใช้งานสามารถฉวยหยิบจับด้ามค้อนและหันตอกชิ้นงานได้เลย โดยไม่ต้องละสายตามาเช็คว่า หน้าค้อนอยู่ฝั่งใด
ด้ามต้นแบบที่เราทำเสร็จอันแรก เราใช้กบขูด/เขียด และสิ่วเป็นตัวเก็บงานทั้งหมด ในรอบนี้ เราต้องการรูปทรงที่โค้งมนรี สมมาตรตลอดทั้งด้าม มีน้ำหนักกลางศูนย์ถ่วง และต้องการฝึกวิชางานกลึงไม้
เราได้รับความเอื้อเฟื้อจากพี่ปฐม บังวู๊ดแห่ง woodworkingthai.com ให้ยืมสถานที่และเครื่องกลึง อีกทั้งพี่ปฐมได้แนะเคล็ดวิชางานกลึง การลับมีดกลึงให้พวกเราด้วยครับ
เราแบ่งขั้นตอนย่อยๆดังนี้
2.1) ใช้เราท์เตอร์ครึ่งวงกลมลดโหลดเสียก่อน เพื่อลดเวลาการทำงานกลึง
2.2) ใช้เครื่องกลึงเก็บงานให้กลมตามศูนย์กลางของด้าม และกลึงรูปทรงให้ตัวด้ามมีเอว
2.3) ใช้เครื่องกลึงเยื้องศูนย์ด้าม เพื่อสร้างผิวมน ให้เกิดทรงรีที่ด้าม
2.3) ใช้ผ้าทรายขัดผิวด้ามให้เรียบ
2.5) เก็บงานทั้งหมดด้วยกบขูด อีกครั้งหนึ่ง
รูปภาพแสดงลำดับการกลึงชิ้นงานด้ามทรงรี จากซ้ายไปขวา
1) กลึงทรงกลม
2) กำหนดจุดเยื้องศูนย์ ดังจะเห็นเสี้ยววงรี สีน้ำเงิน ซึ่งเป็นพื้นที่ส่วนเกินของวงกลมสองวงที่มีรัศมีไม่เท่ากัน
3) ยึดด้ามกลึงให้เยื้องศูนย์ และกลึงบริเวณสีน้ำเงินออกไปก่อน ก็จะได้ผิวทรงรีขึ้นมาหนึ่งด้าน ดังแสดงไว้สีน้ำเงิน
ขณะชิ้นงานหมุน ผิวด้านนี้จะโดนมีดกลึงขูดหลุดออกไป
ขณะชิ้นงานหมุน ผิวด้านนี้จะไม่โดนมีดกลึง
ขณะชิ้นงานหมุน ผิวด้านนี้จะไม่โดนมีดกลึง
4) ทำแบบเดียวกันนี้ กับจุดเยื้องศูนย์อีกจุดหนึ่ง จะได้ผิวงานทรงรี ดังแสดงไว้สีแดง
5) ใช้ผ้าทรายขัดเก็บมุมมน ผ่านเครื่องกลึง
3. งานบากหางเหยี่ยว
ขั้นตอนสำคัญที่สุด คือ การวาดเส้นโครงร่างทั้งหมด และระบายดำส่วนที่ตัดทิ้งสัดส่วนในขั้นตอนนี้จึงต้องใกล้เคียงกับเดือยฝั่งตัวเมียมากที่สุด
รูปแบบที่เราเคยขึ้นโครงไว้ใน Sketch up เป็นดังนี้
ขนาดว่า วาดในคอมพิวเตอร์ยังมึนเลยครับ ตอนวาดบนชิ้นงานจริงๆมึนหนักเข้าไปอีก เป็นการลับสมองช่างไม้ดีแท้ (เฉดสีต่างๆที่ลงไว้ เพื่อแสดงการจับคู่ผิวไม้ระหว่างด้ามและหัวค้อน)
ในชิ้นงานจริง เราจับคู่หัวค้อนและด้าม เป็นคู่ๆ คู่ใครคู่มัน
เพื่อที่เราจะได้ตกแต่งชิ้นงานให้เข้ากันเป็นคู่ๆกันไปเลย
เริ่มจากทาบหางเหยี่ยวตัวเมียลงที่หัวด้ามด้านบน
ปกติ เราระบายดำคือพื้นที่ที่ต้องการตัดทิ้ง
ในเราต้องการถ่ายรูปมาแสดง ดังนั้นกรณียกเว้นนี้ ส่วนระบายดำ คือต้องการเก็บไว้
ใช้เลื่อยญี่ปุ่น บากมุมชิ้นงาน เพื่อให้ได้มุมหางเหยี่ยวตัวผู้
เลื่อยไปทีละร่องๆ แล้วใช้สิ่วเซาะทิ้งไปให้หมด
เทียบส่วนที่ต้องการเฉือนทิ้ง
สิ่วสกัดออก
ปรับเรียบด้วยสิ่ว กบจิ๋ว และแผ่นขูด scraper
คว้านไส้ในด้วยเลื่อยสายพาน
ทำไมต้องเป็นทรงเว้าๆแบบนี้ เดี๋ยวตอนประกอบจะอธิบายอีกครั้งครับ
Monday, October 15, 2012
ค้อนหางเหยี่ยว ตอนที่ 01/01 หางเหยี่ยวยก (Raising Dovetail Joint) คืออะไร
ความน่าสนใจของค้อนไม้นี้ คือ การเข้าเดือยแบบหางเหยี่ยวยก ซึ่งไม่ค่อยมีใครนำมาใช้งาน
ไหนๆก็คุยเรื่องหางเหยี่ยวแล้ว เลยต้องขอเกริ่นย้อนหลังกันว่า
เดือยหางเหยี่ยว หรือที่ภาษาฝรั่งเรียกกันว่า Dovetail joint จัดเป็นหนึ่งในการเข้าเดือยไม้ที่แข็งแรงที่สุดประเภทหนึ่ง
ช่างไม้รุ่นก่อนๆ นิยมใช้เดือยหางเหยี่ยวในการประกอบลิ้นชักและตู้ที่รับน้ำหนักมากๆ เพราะโครงสร้างการเข้าเดือยแบบนี้ มีคุณสมบัติทางกายภาพช่วยรับน้ำหนักได้มาก และยิ่งลงกาวด้วยแล้ว พื้นที่ผิวสัมผัสก็เอื้อให้มีพื้นที่กาวมากทีเดียว
ประเภทเดือยหางเหยี่ยวมีทั้งหมด 5 ประเภท ดังรูป
1) Through dovetail หางเหยี่ยวทะลุ เป็นหางเหยี่ยวแบบที่ทำง่ายที่สุด
2) Half-blind dovetail หางเหยี่ยวไม่ทะลุ (ส่วนตัว ผมเรียกว่า หางเหยี่ยวโจรสลัด เพราะแปลตามศัพท์ มันคือ ตาบอดข้างนึง) นิยมใช้ประกอบลิ้นชักฝั่งด้านหน้า เพื่อซ่อนหางเหยี่ยวส่วนที่โผล่เป็นหัวไม้ไว้
3) Mitered dovetail หรือ Secret mitered dovetail ใช้ในการเข้าเดือยไม้ของเฟอร์นิเจอร์สุดหรู เพราะจะซ่อนรูปทรงหางเหยียวไว้ทั้งหมด ดูภายนอกเสมือนว่า เข้าเดือยชน 45 ปกติ
4) Sliding dovetail/French dovetail เป็นการเลื่อนหางเหยี่ยวไปตลอดทาง เช่น การเข้าเดือยที่ชั้นวางของ การเข้าคอกีตาร์
5) Puzzle dovetail/Impossible dovetail เป็นการเข้าหางเหยี่ยวที่ดูเป็นไปไม่ได้ ดังเช่นค้อนไม้ที่ผมเลือกนำ
เสนอ หรือดังชิ้นงานตัวอย่าง
ไหนๆก็คุยเรื่องหางเหยี่ยวแล้ว เลยต้องขอเกริ่นย้อนหลังกันว่า
เดือยหางเหยี่ยว หรือที่ภาษาฝรั่งเรียกกันว่า Dovetail joint จัดเป็นหนึ่งในการเข้าเดือยไม้ที่แข็งแรงที่สุดประเภทหนึ่ง
ช่างไม้รุ่นก่อนๆ นิยมใช้เดือยหางเหยี่ยวในการประกอบลิ้นชักและตู้ที่รับน้ำหนักมากๆ เพราะโครงสร้างการเข้าเดือยแบบนี้ มีคุณสมบัติทางกายภาพช่วยรับน้ำหนักได้มาก และยิ่งลงกาวด้วยแล้ว พื้นที่ผิวสัมผัสก็เอื้อให้มีพื้นที่กาวมากทีเดียว
ประเภทเดือยหางเหยี่ยวมีทั้งหมด 5 ประเภท ดังรูป
1) Through dovetail หางเหยี่ยวทะลุ เป็นหางเหยี่ยวแบบที่ทำง่ายที่สุด
2) Half-blind dovetail หางเหยี่ยวไม่ทะลุ (ส่วนตัว ผมเรียกว่า หางเหยี่ยวโจรสลัด เพราะแปลตามศัพท์ มันคือ ตาบอดข้างนึง) นิยมใช้ประกอบลิ้นชักฝั่งด้านหน้า เพื่อซ่อนหางเหยี่ยวส่วนที่โผล่เป็นหัวไม้ไว้
3) Mitered dovetail หรือ Secret mitered dovetail ใช้ในการเข้าเดือยไม้ของเฟอร์นิเจอร์สุดหรู เพราะจะซ่อนรูปทรงหางเหยียวไว้ทั้งหมด ดูภายนอกเสมือนว่า เข้าเดือยชน 45 ปกติ
4) Sliding dovetail/French dovetail เป็นการเลื่อนหางเหยี่ยวไปตลอดทาง เช่น การเข้าเดือยที่ชั้นวางของ การเข้าคอกีตาร์
5) Puzzle dovetail/Impossible dovetail เป็นการเข้าหางเหยี่ยวที่ดูเป็นไปไม่ได้ ดังเช่นค้อนไม้ที่ผมเลือกนำ
เสนอ หรือดังชิ้นงานตัวอย่าง
ในเบื้องต้นที่เราคิดทำค้อนไม้นี้ เรามีภาพในใจที่งงๆว่า จะเข้าหางเหยี่ยวได้อย่างไร ดังรูปที่เราจินตนาการไว้
แต่เมื่อหาข้อมูลประกอบ และทดลองวาดแบบ จึงจะเข้าใจหลักการเข้าเดือยดังนี้
ฝรั่งเรียกการเข้าเดือยแบบนี้ให้เฉพาะเจาะจงไปว่า Raising Dovetail Joint หรือหางเหยี่ยวยก นั่นเอง
เวลาประกอบชิ้นงาน เราต้องสอดหางเหยี่ยวจากด้านล่าง สไลด์ตัวเข้าไปตามเดือยตัวเมีย
แต่....
สำหรับหัวค้อนนั้น เราไม่สามารถสอดเฉียงในลักษณะแบบนี้ได้ เพราะเรามีหางเหยี่ยวทั้ง 2 ฝั่ง
จากรูป จะเห็นว่า ถ้าสอดเข้าตรงๆ ก็จะติดหางเหยี่ยวทั้ง 2 ด้าน
ถ้าจะสอดเข้าเฉียงๆ ก็จะสอดได้เพียงหางเดียว และติดอีกด้าน
แล้วทำไงดีล่ะ?
ทำได้ครับ...ทำด้ามทรงแบบนี้่ล่ะ แต่ต้องมีเทคนิคเพิ่มเติมอีกนิด
เราจะเฉลยตอนประกอบค้อนครับ
ค้อนหางเหยี่ยว ตอนที่ 02 หัวค้อน
เมื่อเราเข้าใจหลักการเดือยหางเหยี่ยวยกแล้ว เรามาเริ่มการทำหัวค้อนกันครับ
ผมใช้ Google Sketch up version 8.0 ช่วยในการวาดแบบ และตรวจสอบความเข้าใจของเดือยหางเหยี่ยวทั้งหมด
ผมใช้ Google Sketch up version 8.0 ช่วยในการวาดแบบ และตรวจสอบความเข้าใจของเดือยหางเหยี่ยวทั้งหมด
เริ่มจากการไสเปิดหน้าไม้ ทำปรับผิวหน้า 1 ซึ่งต้องมีความเรียบที่สุด และจะเป็นผิวหน้าอ้างอิงสำหรับหน้าอื่นๆ
ไสหน้า 1 ออกมาเรื่อยๆ เงินเราทั้งนั้น
ทำการแบ่งไม้ออกเป็น 2 ท่อน เพื่อทำงานง่าย และเริ่มปรับหน้าอื่นๆตามมา
ปรับ 4 หน้าเรียบร้อย
จากนั้น เราเจาะรูกลาง เพื่อลดโหลด และจะเก็บด้วยสิ่วอีกครั้งหนึ่ง
เนื่องจากหน้าไม้มีความสูงมากกว่าความยาวดอกสว่าน
ในด้านแรก เราจึงเจาะไม้เข้าไปประมาณครึ่งทาง
จากนั้น เราพลิกกลับ และเจาะอีกครึ่งทางที่เหลือ
ขั้นตอนนี้ ต้องระมัดระวังเรื่องการตั้งชิ้นงาน เพื่อที่จะได้เจาะรูทั้งสองฝั่งมาตรงกัน
ควรเจาะด้านขอบก่อน และไล่เข้ามาหาศูนย์กลาง
เก็บงานด้วยสิ่วปากบาง สปอนเซอร์โดย foot print
เพื่อให้ได้ขอบที่ดูเรียบร้อยสะอาดตา จำเป็นต้องใช้มีดคัตเตอร์กรีดรอยเสียก่อน
จากนั้น ค่อยใช้สิ่วแซะตามรอยมีดที่ทำไว้
จากนั้น เราใช้อุปกรณ์ช่วยเหลือ Hand saw by Topman
เป็นเลื่อยมือ ที่มีตัวช่วยตั้งองศาการเลื่อย เหมาะสำหรับงานนี้จริงๆ
ในรูป เป็นการวางอุปกรณ์เปรียบเทียบให้เห็นภาพ องศาการเลื่อย
ตอนเลื่อยจริงๆ ไม่ได้เรียบตรงแบบนี้นะครับ
เราต้องเก็บด้านในทั้งหมดด้วยสิ่วอีกครั้ง
เก็บชิ้นงานทั้งหมด ตรวจสอบความเรียบร้อย
Subscribe to:
Posts (Atom)