วันนี้เตรียมขาโต๊ะข้างที่ 4
เริ่มแรกทีเดียว ลองใช้เราท์เตอร์เดินปาดหน้า พบกว่าต้องใช้เวลานานมากในการตั้งเครื่อง
และผลลัพธ์ที่ได้ ก็ต้องเก็บผิวด้วยกบอีกทีนึง
รอยดำๆวงกลม เกิดจากรอยไหม้ของดอกเราท์เตอร์ขณะที่จรดลงผิวไม้
ในภาพคือเริ่มไสล้างไปได้สักพัก และต้องมีไม้บรรทัดยาวๆเพื่อเช็คความเรียบ
หลังจากใช้กบผิว 22" ปรับระดับความเรียบและฉากของสองผิวไม้
กว่าจะมาถึงขั้นตอนนี้ ต้องลับมีดไป 3 รอบ...
ไม้แคมปัส แกร่งมากๆ
ยังมีรอยไม้อยู่บ้างนะครับ ไว้เก็บผิวกันอีกที
ขาโต๊ะ 4"x4" ทั้ง 4 ขา ตอนนี้ปรับผิวไป 2 ด้านทั้งหมดแล้ว
จากนี้ เราใช้เครื่องทุ่นแรงลดโหลดละครับ นั่นคือ...
เครื่องรีดไม้ นั่นเอง
เรามีผิวที่เรียบและฉาก 2 ด้าน แบบนี้โยนเข้าเครื่องรีดไม้ สบายโลด
แหม...power tool นี่ มันทุ่นแรงจริงๆ
เราจะตากไม้ไว้สัก 2-3 วัน เพื่อดูว่าจะมีอาการบิดตัว หรือโก่งหรือไม่
จากนั้น เราจะไสผิวเก็บรอยใบมีดอีกที
เห็นรูปไกลๆแบบนี้ ยังมีรอยแตกในผิวไม้อยู่ประปรายตลอดแท่งนะครับ
ก็ลุ้นว่าจะแตกเพิ่ม ลงลึกเพิ่มอีกหรือไม่
Monday, September 3, 2012
การไสไม้ 3 ระดับ: หยาบ เรียบ ลื่น ตอนที่ 3
ช่วงลื่น :: Smoothing plane กบเก็บงาน
เมื่อเปรียบเทียบกับการเตรียมไม้ใน 2 ขั้นตอนที่ผ่านมา กบที่จะใช้งานที่ขั้นตอนนี้ จึงต้องเป็นกบที่มีใบคมที่สุด มีการปรับตั้งกบที่ละเอียดที่สุด ตั้งใบกบออกมาเท่าๆกัน อยู่กึ่งกลาง ไม่ตกซ้าย/ขวา
กบกลุ่มนี้ มีความยาวตั้งแต่ 7"-10" ดังเช่น กบหมายเลข 4 ยาว 9" และมีความกว้างของใบเท่ากับ 2" หรือกบหมายเลข 4 1/2 ซึ่งยาวเท่ากัน แต่มีความกว้างใบมากกว่า ซึ่งก็เหมาะกับการเก็บงานไม้เช่น ผิวหน้าโต๊ะ หรืออีกตัวอย่างก็คือ กบหมายเลข 3 ซึ่งมีใบแคบกว่าหมายเลข 4 ก็จะเหมาะกับงานไม้หน้าแคบๆ เช่น พนังโต๊ะตัวเล็ก
กบกลุ่มนี้ ใช้สำหรับไสผิวไม้บางๆ ตั้งแต่ต่ำกว่า 0.002" ลงมา เราจึงต้องการท้องกบที่เรียบตรง และเปิดช่องกบให้น้อยที่สุดเท่าที่จะไสได้โดยไม่ติดขัด ใบกบควรจะมีความโค้งน้อยมากๆๆๆ
จังหวะการไสกบนั้น เราจะไสตรงเท่านั้น และต้องระมัดระวังเส้นทางการไส นั่นคือ ให้กบกินผิวไม้สม่ำเสมอ เท่าๆกันทั้งผิว (ไสทางตรงไปทีละช่วงๆ เหมือนๆทาสี) เราจะไสจนพบว่ากบกินไม้ออกมาเป็นแผ่นๆตลอดทาง (นั่นแสดงว่าไม้เรียบมากเท่าๆกันหมดแล้ว)
จากนั้น เราอาจจะใช้แผ่นขูดสแครปเปอร์ เพื่อเก็บตาไม้ที่หลงเหลือ
และถ้าจำเป็นจริงๆ เราก็ยังสามารถใช้กระดาษทรายละเอียด #220 ขัดบางๆ
แล้วยังไงต่อล่ะทีนี้??
ยังจำกันได้หรือเปล่าว่า เราแบ่งช่วงการเตรียมไม้ออกเป็น 3 ช่วง หยาบ เรียบ ลื่น
ดังนั้น เราก็สามารถแบ่งกลุ่มเครื่องมือ power tool เข้าใช้งานตาม 3 ช่วงนี้ได้เช่นกัน
ช่วงหยาบ เราใช้เครื่องรีดไม้/ไสชิด เพื่อนำไม้ที่ไม่ต้องการออกให้มากที่สุด และปรับระดับผิวให้ตรงพอรับได้ (เครื่องรีดไม้/ไสชิด ทำให้ไม้เรียบก็จริง แต่ก็ยังทิ้งรอยใบมีด ขรุขระไว้ที่ผิวไม้นะครับ)
ช่วงเรียบ เราใช้เครื่องขัดกระดาษทรายวงกลม เครื่องขัดสายพาน หรือ drum sander
ซึ่งมันทำหน้าที่ลบรอยมีดที่เกิดจากขั้นตอนแรก (ลบรอยใบมีดจากเครื่องรีดไม้/ไสชิด)
อย่างไรก็ดี เราก็ต้องมีทักษะการใช้เครื่องมือทีชำนาญเช่นกัน เพราะเราจำเป็นต้องรักษาระดับความเรียบตรงของผิวไม้ในขั้นตอนนี้ด้วย
ช่วงลื่น นั่นก็คือ การขัดด้วยเครื่องขัดกระดาษทรายแบบแบน หรือใช้มือขัด เพื่อลบรอยออกให้หมดเท่าที่จะทำได้
เมื่อเราเห็นภาพทั้งหมดแล้ว เราก็สามารถผสมผสานการใช้ power tool และ hand tool เข้าด้วยกัน ตามอุปกรณ์ที่เรามีอยู่ในมือ ยกตัวอย่างเช่น...
เรามี hand tool คือ smoothing plane อยู่เพียงชิ้นเดียว ดังนั้น...
ช่วงหยาบ เราจึงเตรียมไม้ด้วยเครื่องรีดไม้/ไสชิด
ช่วงเรียบ เราใช้เครื่องขัดกระดาษทรายวงกลม
ช่วงลื่น เราจึงสลับมาใช้ hand tool = smoothing plane
หรืออีกตัวอย่างเช่น เราจะเลือกซื้อกบอะไรก่อนดี ถ้าเรายังไม่มีเครื่องรีดไม้/ไสชิด
คำตอบก็คือ เราต้องซื้อ fore plane เพราะเราต้องการเครื่องมือในช่วงหยาบ
สรุปก็คือ เราต้องมั่นท่องไว้ในใจเสมอๆว่า 3 ขั้นตอน หยาบ เรียบ ลื่น
และเลือกใช้เครื่องมือ ทำงานตามลำดับขั้นตอนดังกล่าว
นอกจากนี้ เรายังสามารถประยุกต์ไปกับการเตรียมไม้แบบอื่นๆ สมมติเช่น การตัดไม้โค้งๆ
ช่วงหยาบ ก็คือ เราใช้ band saw ตัดตามรูปทรงที่ต้องการ
ช่วงเรียบ ก็คือ เราใช้บุ้ง/ตะไบ เพื่อลบรอยคลองเลื่อยที่เกิดขึ้นจาก band saw
ช่วงลื่น ก็คือ เราใช้กบขูด (spokeshave) เก็บรอยโค้งให้เรียบเนียนพร้อมสำหรับการทำสี เคลือบผิว
รูปและเรียบเรียง อ้างอิงจาก Popular Woodworking 2006-Febuary, issue 153 โดย Christopher Schwarz
==========================================================
ในส่วนของกบไทยนั้น ผมเองมีประสบการณ์กับการใช้กบธรรมศักดิ์เท่านั้น
เท่าที่คุยกับอ.ดนัย ผู้ผลิตกบไม้สำหรับมืออาชีพมานาน 30 กว่าปี เรียกกันทั่วๆไปว่า กบธรรมศักดิ์
อาจารย์เล่าให้ฟังว่า กบไทยเราก็มีขนาดความสั้นยาวเหมือนๆกบฝรั่ง แต่ไม่ได้มีครบถ้วนแบบฝรั่งทุกๆเบอร์ กบไทยเราแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ คือ กบล้าง (มีฝาประกับ) และกบผิว
ยกตัวอย่างเช่น กบยาว 14" ก็จะมี กบล้าง 14" และกบผิว 14" ซึ่งก็ไม่ได้มีการตั้งหมายเลขดังกบฝรั่งนะครับ เราอ้างชื่อกบตามการใช้งานเลยคือ กบล้าง 14" และกบผิว 14" ตามลำดับ
สมมติว่า เราจะใช้กบไทยทั้งหมด และต้องการไสไม้ยาว 1 เมตร
ช่วงหยาบ เราจะใช้กบล้าง 14"
ช่วงเรียบ ใช้กบผิว 20", 22"
ช่วงลื่น เนื่องจากกบไทย ไม่มี smoothing plan (กบที่มีการตั้งใบองศามากๆ) เราจึงสามารถใช้เทคนิคการกลับใบกบ (bevel up) มาทดแทน smoothing plan ครับ จุดประสงค์คือ ขูดจุดนูนเล็กๆน้อยๆ, ตาไม้ และจัดการกับลายไม้ที่ย้อนกันไปมา
เป็นที่น่าเสียดายว่า ปัจจุบันนี้ช่างไม้ไทยทำงานอุตสาหกรรมเยอะ จึงนิยมใช้ power tool มาช่วยทุ่นแรงเพื่อได้ให้ชิ้นงานจำนวนมากๆในเวลาอันสั้น กบไม้ไทยจึงค่อยๆลืมๆเลือนๆทีละเล็กละน้อย
สนใจติดตามข่าวสารธรรมศักดิ์การช่าง สามารถติดตามได้ที่
https://www.facebook.com/wenhandplanes
ร้านธรรมศักดิ์การช่าง อยู่ซอยเพชรเกษม 39/4 อยู่ตรงข้ามกับห้างเทสโก้ โลตัส ตลาดบางแค
เข้าซอยเข้าไปประมาณ 30 เมตร ร้านจะอยู่ทางซ้ายมือครับ
เมื่อเปรียบเทียบกับการเตรียมไม้ใน 2 ขั้นตอนที่ผ่านมา กบที่จะใช้งานที่ขั้นตอนนี้ จึงต้องเป็นกบที่มีใบคมที่สุด มีการปรับตั้งกบที่ละเอียดที่สุด ตั้งใบกบออกมาเท่าๆกัน อยู่กึ่งกลาง ไม่ตกซ้าย/ขวา
กบกลุ่มนี้ มีความยาวตั้งแต่ 7"-10" ดังเช่น กบหมายเลข 4 ยาว 9" และมีความกว้างของใบเท่ากับ 2" หรือกบหมายเลข 4 1/2 ซึ่งยาวเท่ากัน แต่มีความกว้างใบมากกว่า ซึ่งก็เหมาะกับการเก็บงานไม้เช่น ผิวหน้าโต๊ะ หรืออีกตัวอย่างก็คือ กบหมายเลข 3 ซึ่งมีใบแคบกว่าหมายเลข 4 ก็จะเหมาะกับงานไม้หน้าแคบๆ เช่น พนังโต๊ะตัวเล็ก
กบกลุ่มนี้ ใช้สำหรับไสผิวไม้บางๆ ตั้งแต่ต่ำกว่า 0.002" ลงมา เราจึงต้องการท้องกบที่เรียบตรง และเปิดช่องกบให้น้อยที่สุดเท่าที่จะไสได้โดยไม่ติดขัด ใบกบควรจะมีความโค้งน้อยมากๆๆๆ
จังหวะการไสกบนั้น เราจะไสตรงเท่านั้น และต้องระมัดระวังเส้นทางการไส นั่นคือ ให้กบกินผิวไม้สม่ำเสมอ เท่าๆกันทั้งผิว (ไสทางตรงไปทีละช่วงๆ เหมือนๆทาสี) เราจะไสจนพบว่ากบกินไม้ออกมาเป็นแผ่นๆตลอดทาง (นั่นแสดงว่าไม้เรียบมากเท่าๆกันหมดแล้ว)
จากนั้น เราอาจจะใช้แผ่นขูดสแครปเปอร์ เพื่อเก็บตาไม้ที่หลงเหลือ
และถ้าจำเป็นจริงๆ เราก็ยังสามารถใช้กระดาษทรายละเอียด #220 ขัดบางๆ
แล้วยังไงต่อล่ะทีนี้??
ยังจำกันได้หรือเปล่าว่า เราแบ่งช่วงการเตรียมไม้ออกเป็น 3 ช่วง หยาบ เรียบ ลื่น
ดังนั้น เราก็สามารถแบ่งกลุ่มเครื่องมือ power tool เข้าใช้งานตาม 3 ช่วงนี้ได้เช่นกัน
ช่วงหยาบ เราใช้เครื่องรีดไม้/ไสชิด เพื่อนำไม้ที่ไม่ต้องการออกให้มากที่สุด และปรับระดับผิวให้ตรงพอรับได้ (เครื่องรีดไม้/ไสชิด ทำให้ไม้เรียบก็จริง แต่ก็ยังทิ้งรอยใบมีด ขรุขระไว้ที่ผิวไม้นะครับ)
ช่วงเรียบ เราใช้เครื่องขัดกระดาษทรายวงกลม เครื่องขัดสายพาน หรือ drum sander
ซึ่งมันทำหน้าที่ลบรอยมีดที่เกิดจากขั้นตอนแรก (ลบรอยใบมีดจากเครื่องรีดไม้/ไสชิด)
อย่างไรก็ดี เราก็ต้องมีทักษะการใช้เครื่องมือทีชำนาญเช่นกัน เพราะเราจำเป็นต้องรักษาระดับความเรียบตรงของผิวไม้ในขั้นตอนนี้ด้วย
ช่วงลื่น นั่นก็คือ การขัดด้วยเครื่องขัดกระดาษทรายแบบแบน หรือใช้มือขัด เพื่อลบรอยออกให้หมดเท่าที่จะทำได้
เมื่อเราเห็นภาพทั้งหมดแล้ว เราก็สามารถผสมผสานการใช้ power tool และ hand tool เข้าด้วยกัน ตามอุปกรณ์ที่เรามีอยู่ในมือ ยกตัวอย่างเช่น...
เรามี hand tool คือ smoothing plane อยู่เพียงชิ้นเดียว ดังนั้น...
ช่วงหยาบ เราจึงเตรียมไม้ด้วยเครื่องรีดไม้/ไสชิด
ช่วงเรียบ เราใช้เครื่องขัดกระดาษทรายวงกลม
ช่วงลื่น เราจึงสลับมาใช้ hand tool = smoothing plane
หรืออีกตัวอย่างเช่น เราจะเลือกซื้อกบอะไรก่อนดี ถ้าเรายังไม่มีเครื่องรีดไม้/ไสชิด
คำตอบก็คือ เราต้องซื้อ fore plane เพราะเราต้องการเครื่องมือในช่วงหยาบ
สรุปก็คือ เราต้องมั่นท่องไว้ในใจเสมอๆว่า 3 ขั้นตอน หยาบ เรียบ ลื่น
และเลือกใช้เครื่องมือ ทำงานตามลำดับขั้นตอนดังกล่าว
นอกจากนี้ เรายังสามารถประยุกต์ไปกับการเตรียมไม้แบบอื่นๆ สมมติเช่น การตัดไม้โค้งๆ
ช่วงหยาบ ก็คือ เราใช้ band saw ตัดตามรูปทรงที่ต้องการ
ช่วงเรียบ ก็คือ เราใช้บุ้ง/ตะไบ เพื่อลบรอยคลองเลื่อยที่เกิดขึ้นจาก band saw
ช่วงลื่น ก็คือ เราใช้กบขูด (spokeshave) เก็บรอยโค้งให้เรียบเนียนพร้อมสำหรับการทำสี เคลือบผิว
รูปและเรียบเรียง อ้างอิงจาก Popular Woodworking 2006-Febuary, issue 153 โดย Christopher Schwarz
==========================================================
ในส่วนของกบไทยนั้น ผมเองมีประสบการณ์กับการใช้กบธรรมศักดิ์เท่านั้น
เท่าที่คุยกับอ.ดนัย ผู้ผลิตกบไม้สำหรับมืออาชีพมานาน 30 กว่าปี เรียกกันทั่วๆไปว่า กบธรรมศักดิ์
อาจารย์เล่าให้ฟังว่า กบไทยเราก็มีขนาดความสั้นยาวเหมือนๆกบฝรั่ง แต่ไม่ได้มีครบถ้วนแบบฝรั่งทุกๆเบอร์ กบไทยเราแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ คือ กบล้าง (มีฝาประกับ) และกบผิว
ยกตัวอย่างเช่น กบยาว 14" ก็จะมี กบล้าง 14" และกบผิว 14" ซึ่งก็ไม่ได้มีการตั้งหมายเลขดังกบฝรั่งนะครับ เราอ้างชื่อกบตามการใช้งานเลยคือ กบล้าง 14" และกบผิว 14" ตามลำดับ
สมมติว่า เราจะใช้กบไทยทั้งหมด และต้องการไสไม้ยาว 1 เมตร
ช่วงหยาบ เราจะใช้กบล้าง 14"
ช่วงเรียบ ใช้กบผิว 20", 22"
ช่วงลื่น เนื่องจากกบไทย ไม่มี smoothing plan (กบที่มีการตั้งใบองศามากๆ) เราจึงสามารถใช้เทคนิคการกลับใบกบ (bevel up) มาทดแทน smoothing plan ครับ จุดประสงค์คือ ขูดจุดนูนเล็กๆน้อยๆ, ตาไม้ และจัดการกับลายไม้ที่ย้อนกันไปมา
(ภาพแสดงกบล้าง 14" และกบผิว 9" ของธรรมศักดิ์การช่าง)
เป็นที่น่าเสียดายว่า ปัจจุบันนี้ช่างไม้ไทยทำงานอุตสาหกรรมเยอะ จึงนิยมใช้ power tool มาช่วยทุ่นแรงเพื่อได้ให้ชิ้นงานจำนวนมากๆในเวลาอันสั้น กบไม้ไทยจึงค่อยๆลืมๆเลือนๆทีละเล็กละน้อย
สนใจติดตามข่าวสารธรรมศักดิ์การช่าง สามารถติดตามได้ที่
https://www.facebook.com/wenhandplanes
ร้านธรรมศักดิ์การช่าง อยู่ซอยเพชรเกษม 39/4 อยู่ตรงข้ามกับห้างเทสโก้ โลตัส ตลาดบางแค
เข้าซอยเข้าไปประมาณ 30 เมตร ร้านจะอยู่ทางซ้ายมือครับ
การไสไม้ 3 ระดับ: หยาบ เรียบ ลื่น ตอนที่ 2
มาว่ากันต่อนะครับ
ช่วงเรียบ :: Jointer plane แบนได้แค่ไหน จัดมา!!!
การทำงานในช่วงนี้ เราจะจริงจังกับการปรับผิวมากที่สุด เรียกว่า มีฝีมือปรับไม้ได้แค่ไหนก็จัดมาให้เต็มสูบ เครื่องมือที่เลือกใช้ ก็คือ กบที่มีความยาวตั้งแต่ 22" ขึ้นไป (กบหมายเลข 7 ยาว 22" และกบหมายเลข 8 ยาว 24" ส่วนกบพี่ไทยเรา มีทั้ง 22", 24" และเคยเห็นยาวถึง 30"ครับ แม่เจ้า...)
หน้าที่ของมันก็ตอบโจทย์ในขั้นตอนนี้ คือ ปรับผิวไม้ให้เรียบตรงที่สุด
เราควรเลือกใช้กบที่ยาวเหมาะสมกับชิ้นงานของเราด้วยนะครับ เช่น ต้องการปรับผิวไม้ยาว 1 เมตร ก็สามารถเลือกใช้กบตั้งแต่ 22" ขึ้นไป หรือไม้สั้นหน่อย ก็สามารถลดหลั่นลงมาได้บ้าง ทั้งนี้เพื่อความสะดวกในการไสไม้นะครับ ไม่ได้เป็นปัญหาแต่อย่างใด
งั้นไม่ซัดกบยาวๆตั้งแต่แรกเลยล่ะ ปรับให้ตรงตั้งแต่ช่วงหยาบไปเลยได้ป่ะ??
เหตุผลเดียวเลยครับ...กบกลุ่มนี้ มันยาวมาก และก็เลยหนักมากๆครับ ลองคิดดูว่า เราใช้กบลุยซึ่งมีน้ำหนักที่เบากว่าเกือบครึ่ง เพื่อไสไม้ส่วนใหญ่ออกไปก่อน ปรับระดับให้พอรับได้ จากนั้น ค่อยมาใช้กบกลุ่มนี้ เก็บงานอีกที ย่อมจะเป็นการเลือกเครื่องมือทำงานได้เหมาะสมกว่า...เราก็เหนื่อยน้อยกว่า
และเมื่อกบยาวๆเป็นตัวพระเอกในการปรับเรียบ ดังนั้นท้องกบกลุ่มนี้ จึงต้องมีความเรียบเสมอจริงๆ
ใบกบสามารถมีความโค้งได้นิดหน่อย (ถ้าใบกบตรงเป๊ะ มันจะทิ้งรอยขีดไว้ แล้วงานช่วงหน้าจะลำบาก)
ส่วนช่องที่เปิดนั้น ก็เปิดเพียงพอให้ไสไม้เรียบเท่านั้น ไม่ควรเปิดมากจนไสแล้วไม้ฉีกตามกันออกมา
ทิศทางการไสไม้นั้น เราจึงมักจะไสตรงๆตามเสี้ยนไม้
จะมีกรณียกเว้นบ้าง เช่น การไส้ไม้ที่หน้ากว้างมากๆ เราอาจจะต้องไสเฉียงซ้าย/ขวาก่อนสัก 4-5 ครั้ง แล้วจึงค่อยไสตรงเป็นหลัก
ดังนั้น ในการไสไม้ของกบกลุ่มนี้ ช่วงแรกๆ มันจะกินส่วนผิวนูนออกมาก่อน จนสักพักกบจึงเริ่มกินไม้ออกมาเป็นแผ่นๆเท่าๆกัน
เราจะไสไม้ไปจนกระทั่งได้ความหนาที่ต้องการ และไสได้แผ่นออกมาเท่าๆกัน
เมื่อเช็คดูผิวไม้ ควรจะไม่มีแสงลอดผ่าน ผิวหน้าไม้เรียบเสมอกันทุกๆแนว (แนวตั้ง แนวนอน แนวทแยง)
จึงยุติขั้นตอนนี้ครับ
ต่อตอนหน้าครับ :D
ช่วงเรียบ :: Jointer plane แบนได้แค่ไหน จัดมา!!!
การทำงานในช่วงนี้ เราจะจริงจังกับการปรับผิวมากที่สุด เรียกว่า มีฝีมือปรับไม้ได้แค่ไหนก็จัดมาให้เต็มสูบ เครื่องมือที่เลือกใช้ ก็คือ กบที่มีความยาวตั้งแต่ 22" ขึ้นไป (กบหมายเลข 7 ยาว 22" และกบหมายเลข 8 ยาว 24" ส่วนกบพี่ไทยเรา มีทั้ง 22", 24" และเคยเห็นยาวถึง 30"ครับ แม่เจ้า...)
หน้าที่ของมันก็ตอบโจทย์ในขั้นตอนนี้ คือ ปรับผิวไม้ให้เรียบตรงที่สุด
เราควรเลือกใช้กบที่ยาวเหมาะสมกับชิ้นงานของเราด้วยนะครับ เช่น ต้องการปรับผิวไม้ยาว 1 เมตร ก็สามารถเลือกใช้กบตั้งแต่ 22" ขึ้นไป หรือไม้สั้นหน่อย ก็สามารถลดหลั่นลงมาได้บ้าง ทั้งนี้เพื่อความสะดวกในการไสไม้นะครับ ไม่ได้เป็นปัญหาแต่อย่างใด
งั้นไม่ซัดกบยาวๆตั้งแต่แรกเลยล่ะ ปรับให้ตรงตั้งแต่ช่วงหยาบไปเลยได้ป่ะ??
เหตุผลเดียวเลยครับ...กบกลุ่มนี้ มันยาวมาก และก็เลยหนักมากๆครับ ลองคิดดูว่า เราใช้กบลุยซึ่งมีน้ำหนักที่เบากว่าเกือบครึ่ง เพื่อไสไม้ส่วนใหญ่ออกไปก่อน ปรับระดับให้พอรับได้ จากนั้น ค่อยมาใช้กบกลุ่มนี้ เก็บงานอีกที ย่อมจะเป็นการเลือกเครื่องมือทำงานได้เหมาะสมกว่า...เราก็เหนื่อยน้อยกว่า
และเมื่อกบยาวๆเป็นตัวพระเอกในการปรับเรียบ ดังนั้นท้องกบกลุ่มนี้ จึงต้องมีความเรียบเสมอจริงๆ
ใบกบสามารถมีความโค้งได้นิดหน่อย (ถ้าใบกบตรงเป๊ะ มันจะทิ้งรอยขีดไว้ แล้วงานช่วงหน้าจะลำบาก)
ส่วนช่องที่เปิดนั้น ก็เปิดเพียงพอให้ไสไม้เรียบเท่านั้น ไม่ควรเปิดมากจนไสแล้วไม้ฉีกตามกันออกมา
ทิศทางการไสไม้นั้น เราจึงมักจะไสตรงๆตามเสี้ยนไม้
จะมีกรณียกเว้นบ้าง เช่น การไส้ไม้ที่หน้ากว้างมากๆ เราอาจจะต้องไสเฉียงซ้าย/ขวาก่อนสัก 4-5 ครั้ง แล้วจึงค่อยไสตรงเป็นหลัก
ดังนั้น ในการไสไม้ของกบกลุ่มนี้ ช่วงแรกๆ มันจะกินส่วนผิวนูนออกมาก่อน จนสักพักกบจึงเริ่มกินไม้ออกมาเป็นแผ่นๆเท่าๆกัน
เราจะไสไม้ไปจนกระทั่งได้ความหนาที่ต้องการ และไสได้แผ่นออกมาเท่าๆกัน
เมื่อเช็คดูผิวไม้ ควรจะไม่มีแสงลอดผ่าน ผิวหน้าไม้เรียบเสมอกันทุกๆแนว (แนวตั้ง แนวนอน แนวทแยง)
จึงยุติขั้นตอนนี้ครับ
ต่อตอนหน้าครับ :D
การไสไม้ 3 ระดับ: หยาบ เรียบ ลื่น ตอนที่ 1
การทำงานไม้ในยุคสมัยนี้ หลายๆท่านคงพิจารณาเครื่องมือไฟฟ้าเป็นหลัก และอีกหลายๆท่านก็ยังนิยมชมชอบแฮนด์ทูลทั้งหลาย
อย่างไรก็ดี สิ่งที่สำคัญที่สุด ก็คือ การทำงานไม้ให้มีประสิทธิภาพ โดยรู้ว่า เครื่องมือประเภทไหน เหมาะสำหรับขั้นตอนการทำงานไม้ในช่วงไหน
เราจึงแบ่งการทำงานเตรียมไม้ออกเป็น 3 ช่วง อันได้แก่
1) ช่วงหยาบ เป็นการนำเนื้อไม้ออกให้ใกล้เคียงกับขนาดที่เราต้องการ
2) ช่วงเรียบ เป็นขั้นตอนต่อจากช่วงหยาบ ถือเป็นการปรับหน้าไม้ให้เรียบ, ตรง, ระนาบให้มากที่สุด
3) ช่วงลื่น เป็นช่วงสุดท้ายในการเก็บผิวไม้ เตรียมพร้อมสำหรับการประกอบ, เคลือบผิว, การทำสี
เมื่อเราทราบการเตรียมไม้ออกเป็น 3 ช่วงดังกล่าวแล้ว เราก็จะสามารถตัดสินใจได้อย่างถูกต้องว่า
1) เราต้องการใช้เครื่องมือใด (ไม่ว่าจะเป็น power tool, hand tool) สำหรับงานไม้ในแต่ละช่วง
2) เราจะมั่นใจว่า ควรใช้เครื่องมือใดเป็นลำดับก่อน/หลัง ไม่ทำงานซ้ำซ้อน ทำงานย้อนกลับไปกลับมา
3) เราควรจะใช้เครื่องมือนั้นๆเตรียมไม้นานเท่าใด ก่อนที่จะขยับไปใช้เครื่องมือชิ้นต่อๆไป
และด้วยการคิดแบบนี้ เราจะทำงานไม้อย่างมีประสิทธิภาพ ประหยัดเวลาและได้คุณภาพชิ้นงานที่ดีไปพร้อมๆกัน
ผมขอยกตัวอย่าง เครื่องมือฝรั่งก่อนนะครับ แล้วท้ายๆบทความเรามาเปรียบเทียบกับเครื่องมือไทยๆของเรา ท่านที่มีกบเหล็กอยู่แล้ว จะทราบดีว่า กบฝรั่งเขามีการตั้งเลขรหัสตามผู้ประดิษญ์กบเชิงพาณิชย์ยี่ห้อ Stanley โดยที่ Bench plane ของ Stanley นั้น ไล่ตั้งแต่ หมายเลข 1 ถึงหมายเลข 8 และจะมีเลขครึ่ง อันได้แก่ 4 1/2, 5 1/4, 5 1/2 จึงรวมเป็น 11 bench planes.
เขาเปรียบเทียบการเตรียมไม้ 3 ช่วง กับเครื่องมือแต่ละชิ้น
1) ช่วงหยาบ ให้ใช้ Fore plane เช่น กบหมายเลข 5, 6 ถ้าเทียบกับ power tool ก็คือ เครื่องรีดไม้ และเครื่องไสชิด
2) ช่วงเรียบ ให้ใช้ Jointer plane เช่น กบหมายเลข 7, 8 หรือ power tool ก็คือ เครื่องขัดกระดาษทรายแบบวงกลม หรือเครื่องขัดสายพาน
3) ช่วงลื่น ให้ใช้ Smoothing plane เช่น กบหมายเลข 3, 4 หรือ power tool ก็คือ เครื่องขัดกระดาษทรายแบบแผ่นๆ, การขัดกระดาษทรายด้วยมือ หรือการใช้แผ่นสแครปเปอร์ (scraper)
**ภาพแสดงกบมาตรฐานทั้ง 8 ของ Stanley
ช่วงหยาบ :: Fore plane
การทำงานไม้ในช่วงนี้ จะเป็นการเตรียมไม้ให้มีขนาดใกล้เคียงกับที่เราต้องการ, ปรับไม้ที่โก่ง นูน บิด ให้มีความเรียบตรงในแบบที่พอรับได้
ดังนั้นเครื่องมือที่จะใช้ ควรจะตอบโจทย์ดังกล่าว นั่นก็คือ กบที่มีความยาวตั้งแต่ 14" - 20"
เพราะเราใช้มันทำหน้าที่เป็นกบลุย ไสไม้ในลักษณะหยาบๆ เป็นขาลุยๆไปก่อน
(กบหมายเลข 5 ยาว 14" และถูกเรียกว่า Jack plane ในขณะที่กบหมายเลข 6 ยาว 18" ถูกเรียกตรงๆเลยว่า fore plane)
แล้วงั้นไม่เอากบยาวๆกว่านี้ไปเลยล่ะ...
กบยาวๆหน่ะ ดีครับ แต่มันหนักมาก ยิ่งถ้าเราใช้ปรับความหนาไม้ออกมากๆ เราเหนื่อยมากแน่นอนครับ
สำหรับท่านที่มีเครื่องรีดไม้/ชิดชิดอยู่แล้ว ก็เลือกใช้เครื่องรีดไม้/ไสชิดได้เลย และไม่จำเป็นต้องใช้กบ fore plane นี้อีก (ถือว่าเป็นการทำงานแทนที่กันได้)
เมื่อเรารู้ว่า เราเริ่มทำงานช่วงหยาบแบบนี้ กบดังกล่าวจึงไม่จำเป็นต้องมีท้องเรียบเป๊ะสุดๆ เอาเป็นว่า ถ้าเราวางกบบนโต๊ะเรียบๆ (เช่น แกรนิต) แล้วกบไม่กระดกไปมา ก็คือว่า ใช้ได้แล้วครับ
สำหรับใบมีดนั้น ก็ควรจะมีปลายโค้งนิดๆ เพื่อที่จะไสไม้ออกได้อย่างง่ายดาย ไม่กินแรง
ขณะเดียวกัน ช่องเปิดก็ควรจะมากพอที่จะไสไม้ออกได้ทีละมากๆ แต่ก็ไม่ถึงกับฉีกไม้ออกมา
การใช้งาน fore plane เราจึงมักจะไสเฉียงๆ (การไสเฉียงจะเบาแรงกว่าการไสตรงๆ) เพราะเราต้องใช้แรงไสสู้กับเนื้อไม้หยาบๆออกไปก่อน
ไสไปนานแค่ไหนดี?
ก็เท่าที่หน้าไม้จะเรียบพอรับได้ (เช็คระนาบด้วย winding stick) ผิวไม้โดยรวมตรง ราบ ไม่มีปุ่มนูนหรือแอ่งที่ชัดเจนจนเกินไปและได้ความหนาของชิ้นไม้ใกล้เคียงกับที่เราต้องการ
นี่ ขนาดเริ่มๆนะครับ...ไว้มาต่อตอนหน้าครับ
อย่างไรก็ดี สิ่งที่สำคัญที่สุด ก็คือ การทำงานไม้ให้มีประสิทธิภาพ โดยรู้ว่า เครื่องมือประเภทไหน เหมาะสำหรับขั้นตอนการทำงานไม้ในช่วงไหน
เราจึงแบ่งการทำงานเตรียมไม้ออกเป็น 3 ช่วง อันได้แก่
1) ช่วงหยาบ เป็นการนำเนื้อไม้ออกให้ใกล้เคียงกับขนาดที่เราต้องการ
2) ช่วงเรียบ เป็นขั้นตอนต่อจากช่วงหยาบ ถือเป็นการปรับหน้าไม้ให้เรียบ, ตรง, ระนาบให้มากที่สุด
3) ช่วงลื่น เป็นช่วงสุดท้ายในการเก็บผิวไม้ เตรียมพร้อมสำหรับการประกอบ, เคลือบผิว, การทำสี
เมื่อเราทราบการเตรียมไม้ออกเป็น 3 ช่วงดังกล่าวแล้ว เราก็จะสามารถตัดสินใจได้อย่างถูกต้องว่า
1) เราต้องการใช้เครื่องมือใด (ไม่ว่าจะเป็น power tool, hand tool) สำหรับงานไม้ในแต่ละช่วง
2) เราจะมั่นใจว่า ควรใช้เครื่องมือใดเป็นลำดับก่อน/หลัง ไม่ทำงานซ้ำซ้อน ทำงานย้อนกลับไปกลับมา
3) เราควรจะใช้เครื่องมือนั้นๆเตรียมไม้นานเท่าใด ก่อนที่จะขยับไปใช้เครื่องมือชิ้นต่อๆไป
และด้วยการคิดแบบนี้ เราจะทำงานไม้อย่างมีประสิทธิภาพ ประหยัดเวลาและได้คุณภาพชิ้นงานที่ดีไปพร้อมๆกัน
ผมขอยกตัวอย่าง เครื่องมือฝรั่งก่อนนะครับ แล้วท้ายๆบทความเรามาเปรียบเทียบกับเครื่องมือไทยๆของเรา ท่านที่มีกบเหล็กอยู่แล้ว จะทราบดีว่า กบฝรั่งเขามีการตั้งเลขรหัสตามผู้ประดิษญ์กบเชิงพาณิชย์ยี่ห้อ Stanley โดยที่ Bench plane ของ Stanley นั้น ไล่ตั้งแต่ หมายเลข 1 ถึงหมายเลข 8 และจะมีเลขครึ่ง อันได้แก่ 4 1/2, 5 1/4, 5 1/2 จึงรวมเป็น 11 bench planes.
เขาเปรียบเทียบการเตรียมไม้ 3 ช่วง กับเครื่องมือแต่ละชิ้น
1) ช่วงหยาบ ให้ใช้ Fore plane เช่น กบหมายเลข 5, 6 ถ้าเทียบกับ power tool ก็คือ เครื่องรีดไม้ และเครื่องไสชิด
2) ช่วงเรียบ ให้ใช้ Jointer plane เช่น กบหมายเลข 7, 8 หรือ power tool ก็คือ เครื่องขัดกระดาษทรายแบบวงกลม หรือเครื่องขัดสายพาน
3) ช่วงลื่น ให้ใช้ Smoothing plane เช่น กบหมายเลข 3, 4 หรือ power tool ก็คือ เครื่องขัดกระดาษทรายแบบแผ่นๆ, การขัดกระดาษทรายด้วยมือ หรือการใช้แผ่นสแครปเปอร์ (scraper)
**ภาพแสดงกบมาตรฐานทั้ง 8 ของ Stanley
ช่วงหยาบ :: Fore plane
การทำงานไม้ในช่วงนี้ จะเป็นการเตรียมไม้ให้มีขนาดใกล้เคียงกับที่เราต้องการ, ปรับไม้ที่โก่ง นูน บิด ให้มีความเรียบตรงในแบบที่พอรับได้
ดังนั้นเครื่องมือที่จะใช้ ควรจะตอบโจทย์ดังกล่าว นั่นก็คือ กบที่มีความยาวตั้งแต่ 14" - 20"
เพราะเราใช้มันทำหน้าที่เป็นกบลุย ไสไม้ในลักษณะหยาบๆ เป็นขาลุยๆไปก่อน
(กบหมายเลข 5 ยาว 14" และถูกเรียกว่า Jack plane ในขณะที่กบหมายเลข 6 ยาว 18" ถูกเรียกตรงๆเลยว่า fore plane)
แล้วงั้นไม่เอากบยาวๆกว่านี้ไปเลยล่ะ...
กบยาวๆหน่ะ ดีครับ แต่มันหนักมาก ยิ่งถ้าเราใช้ปรับความหนาไม้ออกมากๆ เราเหนื่อยมากแน่นอนครับ
สำหรับท่านที่มีเครื่องรีดไม้/ชิดชิดอยู่แล้ว ก็เลือกใช้เครื่องรีดไม้/ไสชิดได้เลย และไม่จำเป็นต้องใช้กบ fore plane นี้อีก (ถือว่าเป็นการทำงานแทนที่กันได้)
เมื่อเรารู้ว่า เราเริ่มทำงานช่วงหยาบแบบนี้ กบดังกล่าวจึงไม่จำเป็นต้องมีท้องเรียบเป๊ะสุดๆ เอาเป็นว่า ถ้าเราวางกบบนโต๊ะเรียบๆ (เช่น แกรนิต) แล้วกบไม่กระดกไปมา ก็คือว่า ใช้ได้แล้วครับ
สำหรับใบมีดนั้น ก็ควรจะมีปลายโค้งนิดๆ เพื่อที่จะไสไม้ออกได้อย่างง่ายดาย ไม่กินแรง
ขณะเดียวกัน ช่องเปิดก็ควรจะมากพอที่จะไสไม้ออกได้ทีละมากๆ แต่ก็ไม่ถึงกับฉีกไม้ออกมา
การใช้งาน fore plane เราจึงมักจะไสเฉียงๆ (การไสเฉียงจะเบาแรงกว่าการไสตรงๆ) เพราะเราต้องใช้แรงไสสู้กับเนื้อไม้หยาบๆออกไปก่อน
ไสไปนานแค่ไหนดี?
ก็เท่าที่หน้าไม้จะเรียบพอรับได้ (เช็คระนาบด้วย winding stick) ผิวไม้โดยรวมตรง ราบ ไม่มีปุ่มนูนหรือแอ่งที่ชัดเจนจนเกินไปและได้ความหนาของชิ้นไม้ใกล้เคียงกับที่เราต้องการ
นี่ ขนาดเริ่มๆนะครับ...ไว้มาต่อตอนหน้าครับ
Subscribe to:
Posts (Atom)