Tuesday, February 26, 2013

ผลงานการเตรียมไม้ด้วยกบไสไม้ 25 Feb 2013

รอบนี้ มีผู้เรียนทั้งหมด 4 ท่าน เราสร้างกระดานไสฉากในช่วงเช้า และเตรียมไม้สนด้วยกบไสไม้ รวมถึงการไสเพลาะ


เราประยุกต์ใช้ peg board มาช่วยในการกำหนดตำแหน่งรูสกรู

ฝึกใช้สว่านแท่นไปด้วยซะเลย

ขั้นตอนแรกสำหรับการเตรียมไม้ คือการเช็คระนาบ ด้วยไม้เช็คระนาบ (winding stick)


จากนั้น จึงปรับแต่งใบกบ เพื่อเริ่มไสส่วนที่บิดโก่ง





ไสไปได้สักพัก ก็ต้องฟังธรรม...ไปวัด





ไสปรับตั้งแต่หน้า 1 ถึงหน้า 4
ทั้งไสและวัดระนาบ วัดฉาก ทั้งบ่าย

ส่องเทียบกับแสง เพื่อดูผิวไม้ว่ามีส่วนใดยังสูง หรือต่ำเกินไป
ทำให้ผิวหน้าไม้ไม่เรียบเสมอกัน








เลคเชอร์กันถึงดึกๆดื่นๆ

เมื่่อแต่ละท่านไสได้ครบ 2 ชิ้นแล้ว จึงจะทำการไสเพลาะ
เสมือว่า จะเพลาะไม้เพื่อทำหน้าโต๊ะ
เรียบพอมั๊ยครับ

ฉากพอหรือยัง

การไสเพลาะที่ดี นั่นคือ ผิวไม้ทั้งสองผิวต้องแตะสนิทกันพอดี
แล้วจึงประกบด้วยกาว และยึดไม้ทั้งสองชิ้นด้วยแคลมป์
แคลป์จะทำหน้าที่เพียงยึดตำแหน่งไม้ให้แตะกันไปตลอดจนกว่ากาวจะแห้งเท่านั้น

เราจะไม่ปล่อยให้มีช่องว่าง แล้วไปอาศัยแคลป์อัดไม้เข้าด้วยกันเป็นอันขาด







Thursday, February 21, 2013

ปฐมนิเทศ ใบกบใหม่, สิ่วใหม่ ตอนที่ 1

วันนี้ จะเล่าเรื่องการปรับหน้ามีดสิ่ว มีดใบกบครับ

ปรับหน้ามีดคืออะไร?
สิ่ว หรือใบกบ ที่เราได้มาใหม่ ไม่ว่าจะยี่ห้อใด ถูกแพงแค่ไหน เราควรจะตรวจสอบความเรียบของผิวเหล็ก และเช็คด้านฉาก ทั้งนี้ เพื่อที่เราจะได้ทราบว่า สิ่วหรือใบกบใหม่นี้ มีจุดที่ต้องปรับแก้ เพื่อให้ใช้งานได้เต็มประสิทธิภาพอย่างไรบ้าง

อย่างที่เราทราบดีกันว่า ความคมของสิ่ว หรือใบกบ เกิดจากผิวเหล็กสองหน้ามาจรดกัน ยิ่งแต่ละผิวเรียบมากเท่าใด ก็จะส่งผลให้สิ่วหรือใบกบนั้น มีความคมมากเท่านั้น ดังรูป


ความคมในอุดมคติของเรา ก็คือในรูปด้านขวา สีแดง
ผิวเหล็กที่เรียบ สองผิวมาจรดกันเป๊ะ ส่งผลให้เราได้สิ่วที่คม และจะทำงานไม้ได้ง่าย+สนุก...

งั้นจะรู้ได้ไงว่า ผิวเหล็กเรียบจริง?
ในแล็ปหรือโรงงานระดับเทพๆ จะมีกล้องส่องระดับไมโคร ราคาสูง เพื่อดูภาพขยายของผิวเหล็ก
หรือมีเครื่องวัดการสะท้อนแสง เพื่อวัดค่าการสะท้อนเป็นมาตรฐานสากล

แต่ช็อปจิ๋วแบบเราๆท่านๆ คงดูด้วยตาเปล่าเท่านั้น โดยดูจากความมันเงาของผิวเหล็ก
เมื่อผิวหน้าของมีด ส่องกระทบกับแสง สะท้อนชัดมากเท่าใด เราก็อนุมานได้ว่า ผิวเหล็กนั้นเรียบมากๆ

รูปเริ่มต้น แสดง ด้านหลังของสิ่วใหม่จากโรงงานผลิต เราจะเห็นรอยเจียรของเครื่องจักร


ช็อปแบบจิ๋วๆของเรา ยังไม่มีหินลับมีดนะครับ
เรามาดูกันว่า มือ+กระดาษทรายน้ำ จะพาเราไปได้ไกลแค่ไหน

เมื่อใช้กระดาษทรายน้ำเบอร์ 120 ขัดไปได้สักพัก (10-15 นาที) และใช้กระดาษทรายน้ำเบอร์ 600 ขัดไปอีกสักหน่อย เพื่อให้เห็นระดับความสูงต่างของผิวเหล็ก
ผิวที่เริ่มสะท้อนวัตถุ(ด้านขอบๆในรูป) แสดงว่า บริเวณนี้มีความสูงกว่าผิวที่ยังดูมัวๆ (ตรงกลางๆ)

เราจึงยังคงใช้กระดาษทรายน้ำเบอร์ 120 ขัดไปเรื่อยๆ เรื่อยๆ...เกือบชั่วโมงละครับ
และใช้เบอร์ 600 ขัดสัก 1 นาที เพื่อดูความเงาสะท้อน
เงาสะท้อนเริ่มมาแล้วนะครับ....
มีแค่มือกับกระดาษทราย เราก็ต้องอึดครับ อึดเท่านั้น...

ไม่ใช่รูปติดวิญญาณที่ไหนนะครับ มันคือ กล้องถ่ายรูป สะท้อนกับผิวเหล็ก

และสุดท้าย ท้ายสุด ผ่านไปอีกชั่วโมง เราจะได้ผิวเหล็กมันเงาทั่วทั้งหน้า

สำคัญที่สุดว่า ความเงา ต้องทั่วทั้งหน้านะครับ ยิ่งบริเวณขอบมีด บริเวณนั้นสำคัญมากที่สุด
เพราะที่เราขัดให้เรียบทั้งหมด ก็เพื่อให้ขอบเรียบที่สุด เท่าที่จะเรียบได้
ถ้าขอบยังไม่เงาสะท้อน เราก็ต้องขัดทั้งหน้าผิวไปเรื่อยๆ จนกว่าขอบจะเงาสะท้อน

ตัวอย่างที่ทำในวันนี้ เพื่อให้เห็นภาพเงาชัดเจน ผมจึงขัดเป็นบริเวณค่อนข้างกว้างนะครับ ใช้เวลานานทีเดียว แต่ในความเป็นจริง เราขัดเงาบริเวณขอบมีดเท่านั้น เช่น จากขอบมีดเข้ามาประมาณ 1-2 ซม.ก็เพียงพอแล้ว เพราะเราต้องการขอบเรียบ

เมื่อขอบด้านนี้เรียบ ไปเจอกับขอบอีกด้านที่เรียบ เราก็จะได้สิ่วที่คมมาก ส่งผลให้เราทำงานไม้ได้อย่างสนุกมือ ผลงานเนี๊ยบได้ใจ

Friday, February 8, 2013

อัศวิน ม้าไม้ ตอนที่ 05 อินเลย์ อินเลิฟ (Inlays in love)

เนื่องจากมีการขันสกรูยึดขาม้าไม้เข้ากับชิ้นงานหลัก
ดอกใบพายของเรารึ ก็ไม่คม คว้านรูแล้วเหวอะ รู้สึกรับไม่ได้
ก็เลยต้องหาอะไรมากลบๆเกลื่อนๆ

อย่ากระนั้นเลย ทำอินเลย์ฝังแล้วกัน จะได้ฝึกฝีมือศาสตร์ด้านนี้

ว่าแต่ อินเลย์ (Inlay) คืออะไร?

อินเลย์ เป็นการประดับชิ้นงานไม้โดยใช้เศษไม้ชิ้นเล็กๆ หลายๆชิ้น หลายๆสี ตัดมาแปะต่อเนื่องกันเป็นรูป หรือเรื่องราว ดูรูปประกอบเข้าใจง่ายกว่าครับ
เห็นไหมครับว่า หากเราเลือกสีไม้ได้เหมาะสม เราก็สามารถสร้างสรรค์เรื่องราวบนชิ้นงานไม้ได้อย่างสวยงาม

กล่องก็สวยอยู่แล้ว พอใส่อินเลย์เพิ่มเข้าไปเท่านั้นล่ะครับ ยิ่งงามเข้าไปอีก

พื้นลายยิบซะขนาดนี้ เอาให้สะใจกันไปเลย

กระบวนการทำอินเลย์ เริ่มจากการวาดแบบที่เราต้องการบรรจุเข้าไปในชิ้นงาน
จากนั้น ก็คัดสรรเศษไม้ที่จะมาทำลวดลาย ไม่ว่าจะเป็นสีธรรมชาติของไม้ชิ้นนั้น หรือลายไม้ ก็สามารถนำมาเป็นลูกเล่นบนลายอินเลย์ได้

ผมฝึกทำเบสิค อินเลย์แบบง่ายๆ ดังรูปครับ
ผมจะใช้อินเลย์ลายดังกล่าว มาแปะปิดหัวสกรูที่ขาม้าไม้
ซึ่งขาม้าไม้ จะยึดแบบเฉียงๆกับตัวม้าไม้เอง ดังนั้น เราจึงเลือกรูปทรงสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน เพื่อให้ดูสอดคล้องกับขาม้าไม้ครับ

เริ่มจากเศษเมเปิ้ล และวอลนัท ตัดให้บางเท่าๆกัน และใช้กระดานไสฉาก ปรับฉากให้ได้รูปทรงสี่เหลี่ยมหลายๆชิ้น

จากนั้น ก็นำชิ้นสี่เหลี่ยมมาชนมุมกันทั้งหมด โดยต้องคัดเลือกลายไม้ให้สอดคล้อง จะเป็นลายทางเดียวกันหรือสวนทางกันก็ได้ แต่ให้เป็นรูปแบบเหมือนๆกันไปทั้งหมด จะทำให้ภาพรวมดูสวยงาม ดูมีเรื่องราว

จากนั้น ใช้เลื่อยตัดชิ้นงานให้เป็นรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน และเก็บขอบให้คมด้วยสิ่ว

ผมปิดขอบสี่เหลี่ยมเปียกปูนนี้ด้วย เศษไม้แคมปัสครับ (เหมือนๆไม้แดง)
ไม้แข็งๆ เวลาทำชิ้นงานเล็กๆ ตัดยากมาก...ใช้สิ่วเฉาะ ก็จะร้าว ฉีกหรือหักกระเด็นไปทั้งชิ้น ต้องระมัดระวังกันพอสมควร

จากนั้นก็นำกรอบไม้แคมปัส มาปิดขอบเปียกปูน โดยต้องให้ชนมุมตามเส้นทแยงเปียกปูนด้วยครับ

เราสามารถนำชิ้นอินเลย์เล็กๆ มาต่อกันเพื่อให้เกิดลายใหญ่ๆได้นะครับ

เพียงแค่พลิกด้าน ก็จะได้ความรู้สึกอีกแบบนึง

ทุกครั้งที่มีการฝังอินเลย์ ก็จะมีการเซาะร่องเพื่อใส่ชิ้นงานอินเลย์เข้าไปให้พอดีครับ
ฝรั่งใช้ศัพท์ว่า recess

ดังนั้น ผมก็ต้องทาบเปียกปูนเข้ากับขาม้าไม้ และวาดดินสอให้พอดีกับชิ้นอินเลย์
จากนั้น ก็หน้าที่ของสิ่ว ลุยเก็บไปเรื่อยๆ ให้พอดีๆ ฟิตๆ
รูปที่คว้านไว้ในตอนแรก สารภาพว่า เละมากครับ
เป็นเหตุให้ต้องมีการลบหน้าปะจมูก ทำหรู

รูปจากขาม้าไม้อีกข้างครับ รูเบี้ยวๆขัดใจมาก
ต้องปิดอินเลย์กลบ....

ทาบเข้าไป...ดูดีขึ้นมา


dry fit ทดสอบการแปะ ก่อนทากาว

ชิ้นงานสำเร็จ บนอยู่บนขาม้าไม้ ปิดหัวสกรู
หลังจากนี้ เราจะใช้กบผิว หรือแผ่น scraper ขูดเก็บให้เรียบเนียน สมกับ อินเลย์ อินเลิฟ





Monday, February 4, 2013

ผลงานเก้าอี้ชิ้นโบว์แดง 2013_Feb_0203

รอบนี้ นักเรียนจัดเต็ม 4 ท่าน สนุกมากครับ
เริ่มจากการวาดแบบลงชิ้นงาน















ประกอบขา เสร็จไปหนึ่ง...









ทุ่มนึง เสร็จไปหนึ่งท่าน...




สองทุ่ม ยังขะมักเขม้น...แรงไม่ตก

ช่วงตอกลิ่มไม้ชิงชันปิดหัวไม้ขาเก้าอี้ เพื่อยึดเดือยตัวผู้
ไม่รู้จะแน่นไปถึงไหน...

ลำดับต่อไปก็คือไสเก็บให้เรียบเนียน และสะอาดตา









เกือบสี่ทุ่ม เราก็ได้ผลงานเก้าอี้ชิ้นโบว์แดงเพิ่มขึ้นมาอีก 4 ตัว
ประทับใจไม่รู้ลืมครับ ขอบคุณทุกๆท่านจริงๆ