From the last time, we did some sanding for a several day. Mostly, we do concern on those mark, glue residue, chamfer the edge.
Today, we use duck tape to cover the fingerboard and prepare the sealer.
Thinner + Sanding Sealer is 1:1 ratio. Pressure is 0.2 psi for the air gun.
Before and After 1st sealer.
A bit darker? Yeah...this is natural mahogany.
Then, we need to wait until this 1st film is completely dried.
We apply about 3 layers of sealer (sand during each layer), then we go for lacquer.
Saturday, June 23, 2012
Monday, June 18, 2012
ทากาวให้พอดี
ผมมีปัญหากับการทากาวบนไม้มาตลอด นั่นคือ ความที่กลัวว่าเนื้อกาวจะไม่ชุ่มพอ จึงป้ายกาวไว้เยอะ และเมื่อใช้ปากกาหนีบชิ้นงานแล้ว กาวที่ทะลักออกมา คือความเหนื่อยที่ต้องรีบตามเก็บให้สะอาดที่สุดเท่าที่จะทำได้ นอกจากนั้นแล้ว ยังต้องเตรียมมาขูดเศษคราบกาวบางๆเพิ่มอีก หลักจากกาวแห้งทั้งหมด
ได้อ่าน Popular Woodworking 2001-02 No. 120 มีเทคนิคที่น่าสนใจครับ
ได้อ่าน Popular Woodworking 2001-02 No. 120 มีเทคนิคที่น่าสนใจครับ
ผู้เขียนบทความนี้ ได้มีโอกาสคุยกับผู้ผลิตกาว Titebond จึงได้เทคนิคการทากาว โดยนำสกรูมายึดกับด้ามไม้ และใช้ฟันสกรูเป็นตัวเกลี่ยกาวบนผิวชิ้นงาน
ด้วยวิธีนี้ จะได้ผิวกาวบางๆประมาณ 0.005" ซึ่งบางพอดีที่ใช้เชื่อมติดชิ้นงานและไม่ต้องหนาเกินจนล้นออกมาให้ตามเช็ดกันให้เหนื่อย
เมื่อใช้เสร็จ ก็เพียงแค่จุมด้ามสกรูลงในถ้วยน้ำ และล้างออก ก็จะได้แปรงทากาวไว้ใช้อีกในคราวต่อๆไป
Thursday, June 14, 2012
วิชา งานเคลือบเงาสำหรับช่างไม้ รหัส 101 (เลือกได้ดี มีชัยไปกว่าครึ่ง)
อ้างอิงจากหนังสือ American Woodworker Guide to Finishing (Winter
2007/2008)
ขั้นตอนการเคลือบเงาสำหรับงานไม้
ถือเป็นขั้นตอนที่ปวดหัวสำหรับมือใหม่หลายๆท่าน เพราะปัจจุบันนี้
มีผลิตภัณฑ์ออกมารองรับคุณภาพชิ้นงานที่ต้องการมากมายเหลือเกิน ดูของฝรั่งก็อย่างนึง
พอจะมาหาซื้อใช้ในบ้านเรา ก็อาจจะหาได้บ้าง ไม่ได้บ้าง
หรือต้องหาบางอย่างทดแทนไปบ้าง บ่อยๆครั้ง เราจึงอาศัยครูลักพักจำ
เสาะถามกระบวนการจากร้านค้าบ้าง จากกระทู้ต่างๆบ้าง ลองผิดลองถูก
เอาไปใช้จริงได้บ้าง ไม่ได้บ้าง ทำถูกก็ไม่แน่ใจ ทำผิดก็ไม่รู้ตัว...
อย่ากระนั้นเลย เรามาปูเสื่อ จกข้าวเหนียว
และพูดคุยเรื่องงานสีแบบเบาๆกัน
การเคลือบเงาไม้ สามารถแบ่งตามประเภทต่างๆ จำง่ายๆได้ดังนี้
1) งานน้ำมัน (Oil)
2) งานวานิช (Varnish)
3) งานเชแลค (Shellac)
4) งานแลคเกอร์ (Lacquer)
5) กลุ่มผลิตภัณฑ์สูตรน้ำ (Water based)บางครั้ง ผู้ผลิตก็ผสมประเภทการเคลือบเงาเข้าด้วยกัน แล้วก็ออกชื่อใหม่ (ให้ช่างงงเข้าไปอีก) ยกตัวอย่างเช่น Danish Oil ก็คือการผสมระหว่างน้ำมันและวานิช หรือ Tung oil ก็คือ วานิชบางๆผสมกับแร่บางอย่าง การผสมกันแบบนี้ ก็เพราะต้องการดึงคุณสมบัติของการเคลือบเงาแต่ละประเภทมาใช้งาน
ในงานเคลือบเงานั้น ให้เราจำจุดประสงค์ที่เราเคลือบเงา ง่ายๆ 3 ข้อ ได้แก่
1) เพื่อขับ/ดึงความสวยงามของไม้ให้โดดเด่นออกมา (Enhance)
2) เพื่อผนึกปิดไม้ไว้ (Seal)
3) เพื่อป้องกันไม้จากการใช้งาน (Protect)
ดังนั้น การเคลือบเงาไม้ใน 6 ประเภทข้างต้นนั้น
ต่างมีความสามารถในการบรรลุจุดประสงค์ 3 ข้อนี้ มากน้อยแตกต่างกันไป
ในการพิจารณาเลือกใช้การเคลือบเงานั้น เราจึงต้องตั้งโจทย์ ถามตัวเองว่า
การเคลือบเงาแต่ละประเภท ส่งผลกระทบกับเฉดสีดั้งเดิมของไม้แตกต่างกันออกไป
บางครั้งเราก็ต้องการให้เฉดสีเปลี่ยน แต่บางครั้งเราก็ต้องการให้คงเฉดสีดั้งเดิมไว้
เรามาดูคำอธิบาย และเปรียบเทียบสีต่างๆของไม้ ดังรูป
1.1) กลุ่มสูตรน้ำ (Water based finishes) ส่งผลให้ไม้สีเข้มขึ้น แต่ไม่มีผลกับเฉดสีดั้งเดิม
1.2) น้ำมันลินซีด (Boiled linseed oil) ทำให้ไม้มีสีเข้มขึ้น และเฉดสีจะออกเหลืองอำพัน โทนสีอุ่น
1.3) แวกซ์ ไม่มีผลการสีดั้งเดิมเลย มายังไง ก็ไปแบบนั้น
1.4) โพลียูริเทน-สูตรน้ำมัน ทำให้ไม้มีสีเข้มขึ้น
และเฉดสีจะออกเหลืองอำพัน โทนสีอุ่น แต่ไม่เข้มเท่ากับกลุ่มน้ำมันลินซีด
1.5) เชแลคส้ม เพิ่มสีส้มโทนอุ่นให้กับเฉดสีเดิมของไม้ (เชแลคสีอื่นๆ ก็เพิ่มโทนสีตามนั้นๆ)
1.6) แลคเกอร์ ทำให้ไม้สีเข้มขึ้นนิดนึง
2) ต้องการใช้กระบวนการเคลือบเงา ที่มีขั้นตอนการทำงานยากง่ายเพียงใด (Application)
โดยทั่วๆไปแล้ว กระบวนการเลือกทำงานเคลือบไม้เป็นเรื่องของความถนัดช่างแต่ละคน
เพราะการเคลือบไม้แต่ละประเภทใช้ทักษะทางช่างและประสบการณ์ มากน้อยไม่เท่ากัน การเคลือบประเภทน้ำมันและแวกซ์
ทำงานได้ง่ายที่สุด (เช็ดน้ำมันและเช็ดออก
ทำให้เกิดรอยชั้นฟิลม์บางๆบนชิ้นงาน) ในขณะที่งานเชแลค, วานิช และกลุ่มสูตรน้ำ จะใช้แปรงทา และสร้างชั้นฟิลม์ที่หนากว่า ตัวช่างเองก็ต้องอาศัยความประณีตและประสบการณ์ในการใช้แปรง
เพื่อไม่ให้เกิดรอยขนแปรง หรือรอยชั้นฟิลม์ทับกัน และสุดท้าย งานแลคเกอร์ (ซึ่งเรามักจะการพ่น) ก็จำเป็นต้องมีอุปกรณ์เพิ่มเติม เช่น กาพ่นสี ระบบลม และทักษะฝึกฝนการใช้กาพ่นสี
3) ต้องการป้องกันเนื้อไม้ ด้วยคุณภาพดีเพียงใด (Protection)
ถ้าหากเราต้องการปกป้องรักษาชิ้นงานให้มีอายุยืนยาว ก็ควรจะเลือกการเคลือบเงาที่สามารถป้องกันการระเหยของน้ำในชิ้นไม้
(ดังที่เราทราบอยู่แล้วว่า แม้จะผ่านการอบไม้มาแล้ว
ไม้ก็ยังมีความชื้นอ่อนๆหลงเหลืออยู่) ยิ่งเราเคลือบไม้หนามากแค่ไหน
ก็จะยิ่งปกป้องการระเหยของน้ำได้มาก แต่อย่าลืมว่า ทุกอย่างก็มีข้อจำกัด
เพราะการสร้างชั้นฟิลม์ที่หนามากกว่า 0.006 นิ้ว (ประมาณว่า ทายูริเทนไป 4
รอบ) ก็จะมีแนวโน้มว่าจะเกิดรอยแตกบนชั้นฟิลม์ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในพื้นที่ที่มีอากาศเปลี่ยนแปลงกระทันหัน
4) ต้องการความทนทานจากการเคลือบเงามากแค่ไหน (Durability)
ประเภทของการเคลือบเงา
และความหนาของชั้นฟิลม์ที่เคลือบ จะช่วยปกป้องชิ้นงานไม้จากรอยขีดข่วนที่อาจจะเกิดขึ้นจากการใช้งาน
การเคลือบบางประเภทสามารถทนต่อรอยขูดขีด, น้ำ, ความร้อน ได้ดีกว่า คุณสมบัติความทนทานนี้
ขึ้นอยู่กับประเภทของการใช้งานไม้เราด้วย เช่น
เฟอร์นิเจอร์โต๊ะก็มีโอกาสที่จะเกิดรอยขีดข่วนได้มากกว่าโคมไฟตั้งโชว์
ตารางเปรียบเทียบความทนทาน
ของประเภทการเคลือบเงาแต่ละประเภทกับปัจจัยการเกิดรอยบนชิ้นไม้
Excellent ดีเยี่ยม = 6; Very
Good ดีมาก = 5; Good ดี = 4; Fair พอใช้ได้ = 3; Poor แย่ = 2; Very
Poor แย่มาก = 1;1) เคลือบน้ำมัน
การเคลือบน้ำมันแบบทั่วๆไป นิยมอยู่สองชนิด คือ น้ำมันลินสีด และ ทังออย์ล (Tung oil)
น้ำมันลินสีด ทำจากเมล็ดต้นแฟล็คซ์ (flax) เราเห็นอยู่บ่อยๆในงานวาดภาพสีน้ำมัน มีคุณสมบัติแห้งตัวช้า ดังนั้นจึงมีการเติมสารเร่งการแห้งตัว
และเรียกว่า boiled linseed (ไม่แน่ใจว่า ภาษาไทยเรียกว่า อะไร ผมขอเรียกว่า
ลินสีดหุงต้ม ชั่วคร่าวก่อน)
ส่วนทังออย์ล นั้น จะแห้งเร็วกว่าน้ำมันลินสีดดิบ
แต่ช้ากว่าลินสีดหุงต้ม ซึ่งต้องทาบนชิ้นงาน 5-6 รอบ เพื่อให้มีคุณสมบัติเคลือบผิวดังที่ต้องการการเคลือบน้ำมัน เป็นการเคลือบชิ้นงานที่ทำงานง่ายมาก เพียงแค่เช็ดน้ำมัน และใช้ผ้าเปล่าเช็ดซ้ำทุกๆรอบที่เคลือบ เนื่องจากเนื้อฟิลม์เคลือบมีความบาง และไม่สามารถป้องกันรอยได้ จึงเหมาะสำหรับผิวที่ไม่ต้องถูกสัมผัสใช้งานบ่อย เช่น กรอบรูป เป็นต้น
2) เคลือบวานิช
วานิช ก็คือ การนำน้ำมันผสมกับเรซินสังเคราะห์ เช่น ยูริเทน, alkyd แบ่งประเภทตั้งแต่ เงาด้าน กึ่งเงา หรือเงา
สปาวานิช (Spar varnish) คือ มีสัดส่วนของน้ำมันมากกว่าเรซิน ทำให้มีคุณสมบัติผิวที่อ่อนตัว ดูไม่แข็งกระด้าง เหมาะสำหรับงานภายนอก ในขณะที่ วานิชภายใน (Indoor varnish) จะมีคุณสมบัติผิวที่แข็งมากกว่า เพราะมีสัดส่วนผสมของเรซินมากกว่าน้ำมัน การทาทับหลายๆครั้ง จึงสร้างฟิลม์ที่แข็งแรง ทนรอยขีดข่วนต่างๆ
3) เคลือบวานิชผสมน้ำมัน
ก็คือการนำวานิชมาผสมน้ำมัน เพื่อสร้างความแข็งแรงที่มากกว่าการใช้เคลือบน้ำมันเพียงอย่างเดียว มักใช้ชื่อตามที่เราเห็นเช่น เดนนิชออยล์ หรือ ทีคออยล์
การใช้งานง่ายมาก (เช็ดด้วยน้ำมัน และใช้ผ้าเปล่าเช็ดออก) แต่แห้งตัวช้ามากๆเช่นกัน
4) เคลือบเชแลค
เชแลค เป็นสารเรซินธรรมชาติที่สกัดจากแมลง นำมาคั้น และอบแห้ง
เวลานำไปใช้งาน เราจำเป็นต้องนำไปผสมกับแอลกอฮอล์เสียก่อน หรือในบางยี่ห้อ
เราจะเห็นเป็นเชแลคสำเร็จรูป ผสมแอลกอฮอล์มาเรียบร้อยแล้ว
ในเชแลคธรรมชาติ จะมีสีออกส้มนิดๆ ซึ่งจะเพิ่มโทนสีอุ่นกับชิ้นงาน
แต่ในท้องตลาด ก็มีเชแลคสำเร็จรูปสีอื่นๆเช่นกัน
เชแลคส่วนใหญ่ จะมีสารแว๊กซ์ผสมอยู่แล้ว แต่ก็จะมีผลิตภัณฑ์ทางเลือก de-waxed
shellac นั่นก็คือ เชแลคที่ไม่มีแว๊กซ์ ซึ่งนำไปใช้เป็นซีลเลอร์ สำหรับการซีลปิดผิวไม้
ก่อนที่จะทายูริเทนทับ
ในสมัยก่อน ช่างนิยมใช้เชแลคมากที่สุด
จนกระทั่งมีการพัฒนาแลคเกอร์ และยูริเทนขึ้นมา5) เคลือบแลคเกอร์
แลคเกอร์ ผลิตจากไนโตรเซลูโลส มีคุณสมบัติแห้งตัวไวมาก จึงถูกประยุกต์การใช้งานผ่านการพ่น มีความแข็งแรงและทนทานดี เมื่อแห้งตัวไว จึงเป็นข้อได้เปรียบเวลาทำงาน เพราะสามารถพ่นทับหลายๆรอบ และเสร็จงานเคลือบผิวได้ภายในวันเดียว
แลคเกอร์ มีคุณสมบัติเป็นโทนเนอร์ในตัว จึงสามารถใช้เป็นตัวผสมกับสีย้อมไม้ได้อีกด้วย ข้อเสียอย่างเดียวของแลคเกอร์ก็คือ ทินเนอร์ที่ใช้ควบคู่กับแลคเกอร์ เป็นสารพิษตกค้าง และติดไฟ จึงควรใช้ในพื้นที่ที่มีระบบถ่ายเทอากาศที่ดี (แต่ไม่ใช่นำฝุ่นเข้ามาด้วย) และหากต้องการใช้การทาแลคเกอร์แทนการพ่น ก็จำเป็นต้องผสมทินเนอร์ที่มีเชื้อการแห้งตัวช้า เพื่อมีเวลาให้ช่างสามารถทากวาดเก็บผิวงาน
6) กลุ่มสูตรน้ำ
กลุ่มนี้ ถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อเป็นทางเลือกใหม่สำหรับลดความอันตรายและสารตกค้างจากการใช้ทินเนอร์ ซึ่งก็มีผลิตภัณฑ์ตั้งแต่ วานิช, โพลียูริเทน, แลคเกอร์ ข้อดีอีกข้อก็คือ ช่างสามารถล้างทำความสะอาดเครื่องมือด้วยน้ำเปล่าๆได้เลย ส่วนข้อควรระวังในการใช้กลุ่มสูตรน้ำ ก็คือ น้ำจะเป็นตัวดึงเสี้ยนไม้ให้ขึ้นมาระหว่างเคลือบผิว ส่งผลให้สารเคลือบลงไปไม่ลึกถึงเนื้อไม้เท่าๆการเคลือบแบบอื่น (ก็ต้องแก้ไขด้วยขัด และทาหลายๆรอบ เพื่อให้ซึมลงไป)
7) เคลือบแวกซ์
แวกซ์สำหรับงานไม้ที่มีในท้องตลาด เป็นแวกซ์เหลว สามารถใช้เคลือบชิ้นงาน โดยไม่มีผลกระทบกับเฉดสีของไม้ ตัวแวกซ์เองมีความอ่อน จึงไม่ทนต่อรอยขีดข่วนหรือกันน้ำ จึงไม่เหมาะกับชิ้นงานที่ถูกสัมผัสบ่อยๆ แต่ก็สามารถประยุกต์ใช้ทาทับผิวบนสุดของการเคลือบไม้แบบอื่นๆได้
ตกลงว่า จะใช้การเคลือบแบบไหนดี?
คำถามแบบนี้ ต้องถามกลับว่า
ชิ้นงานของเราเป็นลักษณะการใช้งานแบบใด นั่นก็คือ
ถ้าชิ้นงานเป็นตู้ครัว หรือตู้เก็บของในห้องน้ำ เราก็ต้องคำนึงถึงเรื่องความทนทานเป็นหลัก
การเคลือบที่ต้องการจึงต้องทนต่อเหงื่อ (ทั้งแบบเค็มและแบบเปรี้ยว) ดังนั้น
วานิช หรือยูริเทน จึงเป็นตัวเลือกต้นๆ และหากไม่ชอบกลิ่นทินเนอร์
ก็สามารถเลือกสูตรน้ำเพื่อทดแทนได้ แลคเกอร์ ก็ยังถือว่ารับได้ ส่วนเชแลคหรือเคลือบน้ำมัน
ไม่ควรนำมาใช้เลย
ถ้าชิ้นงานคือ เก้าอี้ โต๊ะ เราต้องคำนึงเรื่องรอยขีดข่วน
ก็ต้องเลือกว่า เราอยากจะเคลือบด้วยวิธีการขัดถูหรือไม่ (การขัดถู
เป็นการปัดฝุ่น และปัดชิ้นงานให้เงา ไม่ว่าจะขัดถูด้วยมือ หรือด้วยเครื่องปัด)
แลคเกอร์สามารถปัดเงาได้ง่ายที่สุด ตามด้วยเชแลค ส่วนวานิชและกลุ่มสูตรน้ำ
ก็สามารถปัดเงาได้ดีเช่นกัน แต่ต้องปัดด้วยผ้าที่มีใยความละเอียดสูงๆ คุณภาพสูงๆ (ดังที่เราจะเห็นว่า
มีผ้าปัดเงาหลายๆเกรด หลายๆผิว)
ถ้าชิ้นงานเป็นตู้หนังสือ, ชั้นวางทีวี, ชิ้นงานตกแต่งบ้าน
เช่น กรอบรูป โคมไฟ ซึ่งก็ไม่ต้องเผื่อเรื่องรอยขีดข่วนหนักๆ การเคลือบน้ำมันหรือน้ำมันผสมวานิชหลายๆรอบ
ก็เป็นทางเลือกที่ดี
วิธีการตรวจชิ้นงานขณะเคลือบ
ขณะที่เราเคลือบชิ้นงาน
บ่อยครั้งที่เราจำเป็นต้องยกชิ้นงานขึ้นส่องกับแสง เพื่อตรวจหารอยตำหนิต่างๆ
ซึ่งต้องคำนึงเรื่องประเภทของแสง/สีแสงที่ใช้ส่อง และทิศทางของที่แสงตกกระทบด้วย
วิธีการง่ายๆ มีดังนี้
และสุดท้าย คือ ใช้ไฟส่องเข้ามาทั้งสองทิศทาง
เพื่อดูภาพรวมทั้งหมดอีกครั้ง
สำหรับการเช็คสีเฉดสีนั้น จำเป็นต้องคำนึงเรื่องของประเภทของแสง
ว่าเป็นแสงธรรมชาติ หรือแสงเทียม (นีออน) หรือผสม และสีแสง (ส่องตอนเช้า
กลางวัน เย็น หรือใช้นีออนส้มอมเหลือง ขาว)
แสงที่เหมาะสมใช้ตรวจที่สุด คือ แสงนีออนขาวที่ให้สีเหมือนแสงธรรมชาติ
(หากใช้แสงธรรมชาติ เราไม่สามารถควบคุมความเข้มแสงได้เลย)
Subscribe to:
Posts (Atom)