จึงเป็นที่มาของ แร็กกระถางต้นไม้ ตามรูป
แร็กนี้ เอาแบบมาจากต่างประเทศนะครับ สามารถต่อเป็นชั้นๆ จัดทรงได้มากมายหลายแบบ
เริ่มด้วยการใช้ไม้สนโครง ซึ่งมีขนาดที่ใกล้เคียงกับไซส์กระถางขนาดเล็ก เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 6 นิ้ว ตัดให้ยาวสัก 22 นิ้ว เพื่อให้สามารถวางกระถางได้ 3 ใบ
จากนั้น เราตัดชิ้นสั้น เพื่อทำยึดไม้ให้เป็นเฟรมด้วยการเข้าเดือยไม้แบบเหลี่ยม (mortise-tenon)
และวัดระยะ เพื่อเจาะช่องเดือย
การทำเดือยให้ดูสวย คม เราจะใช้คัตเตอร์กรีดตามเส้นก่อน
ใช้สว่านเจาะรูป เพื่อคว้านไม้ส่วนใหญ่ออกไป
และเก็บรายละเอียดด้วยสิ่วมือ เป็นขั้นต้อนดังรูป
เสร็จ 4 ชิ้น ทดลองสวม เพื่อดูความพอดีของเดือย
เราจะทำช่องไว้เล็กกว่าเดือยตัวผู้สักหน่อย เพื่อให้สวมได้ฟิตพอดี
มาเป็นกรอบละ...ลักษณะแบบนี้ เราจะนำไปใช้เป็นกรอบรูปแขวนผนังก็ได้
สำคัญที่สุด คือตอนวาดและเจาะเดือยตัวเมีย เพราะทุกๆช่องจะต้องห่างเท่าๆกัน
เวลาประกอบไม้สั้น 4 ท่อน ก็จะสวมได้สนิทพอดีทั้งหมด ได้กรอบสี่เหลี่ยมฉากกันหมด
ทดลองวางกระถางเปล่า
จากนั้น ลองนำมาวางตำแหน่งเทียบบนราว กะความสูงให้เหมาะสม
เรายึดแร็กเข้ากับขาไม้ ด้วยสกรูธรรมดา
ส่วนของเดือยไม้ลิ่ม เราจะใช้กบมาช่วยเหลาเดือยกลม
จากรูป เราจะนำแท่งไม้สี่เหลี่ยม มาวางในร่อง เพื่อยึดไม้ให้อยู่กับที่ และใช้กบทรงครึ่งวงกลมมาไส เพื่อแปลงไม้สี่เหลี่ยมให้เป็นทรงครึ่งวงกลม
ทำแบบนี้ ทั้งสองด้าน ก็จะได้เดือยกลมๆ
ให้สังเกตว่า กบชิ้นนี้ มีใบมีดเป็นครึ่งวงกลม
หรือเราสามารถหาซื้อเดือยวงกลมสำเร็จรูปได้ที่บางโพ มีหลายขนาดให้เลือก
สุดท้าย เราใช้สว่านเจาะรูที่เดือย เพื่อเสียบเดือยกลมให้เป็นลิ่มยึด ไม่ให้เฟรมหลุด
ประกอบแร็กเข้ากับขาไม้ด้วยน็อตสกรู เป็นอันเสร็จ
ด้วยการใช้งานทั่วๆไป แร็กนี้จะตั้งอยู่ในสวน มีการรดน้ำต้นไม้บ่อยๆ ชิ้นงานจะโดนน้ำอยู่เสมอ
หากเรานำไม้มาประกบ ใช้กาวยึด ก็ต้องพิจารณาคุณภาพของกาว ควรจะทนน้ำ ทนแดดได้ดี
มิฉะนั้น เฟรมไม้นี้จะหลุดได้ง่ายๆ กระถางต้นไม้จะร่วงลงมาทั้งหมด
แต่การเข้าเดือย จะทำให้เราไม่ต้องใช้กาว และตัวเฟรมมีความแข็งแรงมากๆ แม้ไม้จะโดนน้ำโดนแดด เดือยก็จะขยายตัว หรือหดตัวไปด้วยกัน ยึดติดกันไปตลอด
ส่วนของโครงขาไม้ เราจะใช้การเข้าเดือยมายึดขาหน้า ขาหลังก็ได้
แต่เราเลือกใช้น็อตสกรู เพื่อให้จบงานได้ง่ายๆสำหรับมือใหม่ เสร็จได้ในเวลาอันสั้น และสามารถปรับกางขาไม้ให้กว้างแคบได้ตามต้องการ
No comments:
Post a Comment