Tuesday, November 13, 2012

เก้าอี้ชิ้นโบว์แดง ตอนที่ 1 เดือยดาโด (Dado joint)

(รายละเอียดหลักสูตร โหลดได้ที่นี่ )

พวกเราเลือกเอาต้นแบบเก้าอี้ชิ้นโบว์แดงจาก Lie Nelson Workshop School
เก้าอี้ตัวนี้ ทางฝรั่งเขาเรียกว่า Shaker Chair คำว่า Shaker เป็นชื่อเรียกการออกแบบที่เรียบง่าย เน้นประโยชน์ใช้งานเป็นหลัก ในยุคสมัยนึง Shaker furniture ได้รับความนิยมเป็นอันมาก เนื่องจากความเรียบง่ายนั่นเอง



เก้าอี้ตัวนี้ เน้นการใช้สิ่วช่วยทำงาน ซึ่งพวกเราถือว่าเป็นโจทย์ที่ดีมากๆชิ้นนึง
และความยากที่สุด อยู่ที่เดือย 45 ทั้ง 4 ชิ้นที่ยึดขาเก้าอี้เข้ากับที่นั่ง ช่างไม้ระดับโปร จะทราบดีว่า เดือยแบบนี้ทำง่าย แต่เข้าเดือยยากมากๆ เพราะถ้ามีความผิดเพี้ยนตั้งแต่รอยบากที่นั่ง ที่ขา หรือที่เดือย จะไม่สามารถประกอบเดือยเข้าไปได้เลย และยิ่งมี 4 เดือย ยิ่งยากที่จะประกอบให้ได้ฉากทั้งหมด ทุกจุด


สำหรับหลักสูตรใน B# Woodworking ผมจะดัดแปลง ไม่ใช้เดือย 45 นะครับ เพราะเดี๋ยวมือใหม่จะท้อกันซะก่อน แต่แบบที่เราดัดแปลง ก็มีความท้าทายไม่น้อยกว่ากันครับ ใช้สิ่วกันสนุกแน่นอน


หลังจากที่เรา outline ตำแหน่งของเดือยลงในชิ้นงานแล้ว เราเริ่มทำงานที่ช่องกลางที่นั่ง ซึ่งก็คือช่องสำหรับเอามือหยิบ หิ้วเก้าอี้นั่นเอง โดยมีดอกขูดตาไม้ (forstner bit) ช่วยในส่วนของครึ่งวงกลม และใช้สิ่วตอก ลุยเนื้อไม้ส่วนกลางออกให้หมด

จากนั้น ก็เป็นการทำเดือยดาโด (dado joint)
เดือยดาโดนี้ มีชื่อเรียกหลายชื่อ แล้วแต่ความนิยมในแต่ละประเทศ
ถ้าเป็นในอเมริกา แคนาดา จะเรียก ดาโด (dado joint)
ถ้าในอังกฤษ จะเรียก เฮาส์ซิ่ง (housing joint)

เราจะเห็นเดือยประเภทนี้อยู่บ่อยๆ ช่วงรอยต่อของชั้นวางหนังสือ แต่มักจะเสริมด้วยเดือยแบบอื่นๆเพิ่มเข้าไปด้วย เพื่อสร้างความแข็งแรงให้มากขึ้น

ตัวอย่างเก้าอี้ชิ้นโบว์แดง ก็เช่นกัน
เรานำดาโดจ๊อยท์ มาใช้ร่วมกับ มอทีส เทนอน (dado + mortise/tenon) เพื่อให้ขาเก้าอี้ยึดแข็งแรงกับแผ่นที่นั่ง

เริ่มกันเลยดีกว่า...
ด้วยการตอกสิ่วลงใกล้ๆเส้น outline ตอกเป็นเส้นนำไปตลอด (หรือบางท่านอาจจะใช้เลื่อย เลื่อยกินไม้ลงไปตรงๆตลอดเส้นเลยก็ได้นะครับ)

จากนั้นใช้สิ่วแกะขอบไม้ออกมา ทั้งซ้ายและขวา



 แล้วก็ตอกเกาะด้านขอบ เพื่อสร้างรอยผ่าให้ลึกเข้าไป (สังเกตการหันด้านสิ่ว)


จากนั้น ก็ขุดเนื้อไม้ออก


เมื่อเหลือขอบ เราก็จะเก็บขอบเพื่อให้ได้ขนาดตามจริง


เริ่มด้วยการตอกสิ่วลงตรงๆ 90 องศากับชิ้นงาน เพื่อให้ได้รอยบากที่ฉากที่สุด



และเก็บมุม

แล้วก็จัดการกับอีกฝั่ง

สุดท้ายก็ขูดๆ เก็บๆมุมให้ดูสะอาดตา


ผลงานแบบนี้ สิ่วคมๆเท่านั้นครับ

ทำระยะที่ยาวขึ้น ก็จะได้เดือย dado เต็มช่องชิ้นงาน

อย่าลืมว่า ส่วนที่โชว์ สำคัญที่สุด จะตอกพลาดไม่ได้ เนียนไม่เนียนก็ตรงนี้ล่ะครับ

เรื่องความเนียน ความเนี๊ยบ ต้องใช้เวลาฝึกฝนนะครับ มือใหม่อย่ากังวลจนเกินไป
อยากให้ทำงานไม้ด้วยความสนุกดีกว่า ไม่ต้องเกร็ง แล้วจะได้ผลงานที่ดี

การเกร็ง กังวล หรือตั้งใจเกินไป ส่งผลกับร่างกายนะครับ เช่น เราอาจจะกำสิ่วแน่นเกินไป หรือเผลอออกแรงหักข้อมือ ทำให้ทิศทางสิ่วไม่ตรง ซึ่งยิ่งทำให้ชิ้นงานไม่เรียบร้อยเข้าไปอีก

การทำงานไม้ จึงเป็นการฝึกฝนตนเองทางหนึ่ง ดังที่เราเห็นได้จากช่างฝีมือญี่ปุ่นทั้งหลาย







No comments:

Post a Comment