ผมเลือกทำส่วนของการกลึงด้ามก่อน เพราะเราต้องใช้เครื่องกลึงมาช่วยทำงาน จากนั้นจึงสกัดส่วนหัวด้ามด้วยงานมือ
1. การเตรียมด้ามไม้
เราทำการปรับผิวไม้เมเปิ้ลทั้ง 4 ด้านด้วยกบไสไม้ จากนั้นจึงสอยไม้ออกเป็นท่อนๆ ให้ได้ขนาด
เราต้องการด้ามที่เป็นลักษณะทรงรี เพื่อให้การจับด้ามค้อนกระชับมือ และหันด้านรีแหลมให้ตรงกับด้านที่จะตอกชิ้นงาน ทั้งนี้ก็คือ ให้ผู้ใช้งานสามารถฉวยหยิบจับด้ามค้อนและหันตอกชิ้นงานได้เลย โดยไม่ต้องละสายตามาเช็คว่า หน้าค้อนอยู่ฝั่งใด
ด้ามต้นแบบที่เราทำเสร็จอันแรก เราใช้กบขูด/เขียด และสิ่วเป็นตัวเก็บงานทั้งหมด ในรอบนี้ เราต้องการรูปทรงที่โค้งมนรี สมมาตรตลอดทั้งด้าม มีน้ำหนักกลางศูนย์ถ่วง และต้องการฝึกวิชางานกลึงไม้
เราได้รับความเอื้อเฟื้อจากพี่ปฐม บังวู๊ดแห่ง woodworkingthai.com ให้ยืมสถานที่และเครื่องกลึง อีกทั้งพี่ปฐมได้แนะเคล็ดวิชางานกลึง การลับมีดกลึงให้พวกเราด้วยครับ
เราแบ่งขั้นตอนย่อยๆดังนี้
2.1) ใช้เราท์เตอร์ครึ่งวงกลมลดโหลดเสียก่อน เพื่อลดเวลาการทำงานกลึง
2.2) ใช้เครื่องกลึงเก็บงานให้กลมตามศูนย์กลางของด้าม และกลึงรูปทรงให้ตัวด้ามมีเอว
2.3) ใช้เครื่องกลึงเยื้องศูนย์ด้าม เพื่อสร้างผิวมน ให้เกิดทรงรีที่ด้าม
2.3) ใช้ผ้าทรายขัดผิวด้ามให้เรียบ
2.5) เก็บงานทั้งหมดด้วยกบขูด อีกครั้งหนึ่ง
รูปภาพแสดงลำดับการกลึงชิ้นงานด้ามทรงรี จากซ้ายไปขวา
1) กลึงทรงกลม
2) กำหนดจุดเยื้องศูนย์ ดังจะเห็นเสี้ยววงรี สีน้ำเงิน ซึ่งเป็นพื้นที่ส่วนเกินของวงกลมสองวงที่มีรัศมีไม่เท่ากัน
3) ยึดด้ามกลึงให้เยื้องศูนย์ และกลึงบริเวณสีน้ำเงินออกไปก่อน ก็จะได้ผิวทรงรีขึ้นมาหนึ่งด้าน ดังแสดงไว้สีน้ำเงิน
ขณะชิ้นงานหมุน ผิวด้านนี้จะโดนมีดกลึงขูดหลุดออกไป
ขณะชิ้นงานหมุน ผิวด้านนี้จะไม่โดนมีดกลึง
ขณะชิ้นงานหมุน ผิวด้านนี้จะไม่โดนมีดกลึง
4) ทำแบบเดียวกันนี้ กับจุดเยื้องศูนย์อีกจุดหนึ่ง จะได้ผิวงานทรงรี ดังแสดงไว้สีแดง
5) ใช้ผ้าทรายขัดเก็บมุมมน ผ่านเครื่องกลึง
3. งานบากหางเหยี่ยว
ขั้นตอนสำคัญที่สุด คือ การวาดเส้นโครงร่างทั้งหมด และระบายดำส่วนที่ตัดทิ้งสัดส่วนในขั้นตอนนี้จึงต้องใกล้เคียงกับเดือยฝั่งตัวเมียมากที่สุด
รูปแบบที่เราเคยขึ้นโครงไว้ใน Sketch up เป็นดังนี้
ขนาดว่า วาดในคอมพิวเตอร์ยังมึนเลยครับ ตอนวาดบนชิ้นงานจริงๆมึนหนักเข้าไปอีก เป็นการลับสมองช่างไม้ดีแท้ (เฉดสีต่างๆที่ลงไว้ เพื่อแสดงการจับคู่ผิวไม้ระหว่างด้ามและหัวค้อน)
ในชิ้นงานจริง เราจับคู่หัวค้อนและด้าม เป็นคู่ๆ คู่ใครคู่มัน
เพื่อที่เราจะได้ตกแต่งชิ้นงานให้เข้ากันเป็นคู่ๆกันไปเลย
เริ่มจากทาบหางเหยี่ยวตัวเมียลงที่หัวด้ามด้านบน
ปกติ เราระบายดำคือพื้นที่ที่ต้องการตัดทิ้ง
ในเราต้องการถ่ายรูปมาแสดง ดังนั้นกรณียกเว้นนี้ ส่วนระบายดำ คือต้องการเก็บไว้
ใช้เลื่อยญี่ปุ่น บากมุมชิ้นงาน เพื่อให้ได้มุมหางเหยี่ยวตัวผู้
เลื่อยไปทีละร่องๆ แล้วใช้สิ่วเซาะทิ้งไปให้หมด
เทียบส่วนที่ต้องการเฉือนทิ้ง
สิ่วสกัดออก
ปรับเรียบด้วยสิ่ว กบจิ๋ว และแผ่นขูด scraper
คว้านไส้ในด้วยเลื่อยสายพาน
ทำไมต้องเป็นทรงเว้าๆแบบนี้ เดี๋ยวตอนประกอบจะอธิบายอีกครั้งครับ
No comments:
Post a Comment